วิธีเลือกซื้อ Custom Keyboard สำหรับ ประกอบคีย์บอร์ด ด้วยตัวเอง

7 พ.ค. 2564

วิธีเลือกซื้อ Custom Keyboard สำหรับ ประกอบคีย์บอร์ด ด้วยตัวเอง

ถ้าเกิดคุณเป็นคนสายพิมพ์ที่อยากได้คีย์บอร์ดสวย ๆ แต่หาที่ถูกใจไม่ได้เสียที ทำไมไม่ลองมองหา Custom Keyboard ประกอบคีย์บอร์ดเอง เพื่ออริจินัลคีย์บอร์ดของคุณคนเดียว


Custom Keyboard คือชื่อเรียกของคีย์บอร์ดที่ถูกประกอบขึ้นมาเอง โดยเจ้าของสามารถเลือกการออกแบบและชิ้นส่วนได้เกือบ 100% ของคีย์บอร์ด ซึ่งแตกต่างจากคีย์บอร์ดเกมมิ่งและคีย์บอร์ดทำงานทั่วๆไป คีย์บอร์ดประกอบเองเป็นเทรนด์สำหรับคนทำงานที่ไม่มีเวลาให้กับงานอดิเรกมากนักของต่างประเทศไปจนถึงคนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปเพื่อสร้างความไม่จำเจให้กับชีวิตการทำงาน แถมยังมีราคาไม่แพงอย่างที่คิด สำหรับชุด Custom Keyboard เริ่มต้นซักตัว ก็อาจจะมีราคารวม ๆ ราว 3,500 ถึง 4,000 บาท แต่ถ้าหาซื้อชิ้นส่วนแยกเอง และสเปคไม่สูงมากอาจจะได้ถูกกว่านั้นไปอีก ยิ่งถ้าทำชิ้นส่วนต่าง ๆ เองได้ ก็อาจจะได้เจ้า Custom Keyboard ในงบ 1,000 - 2,000 บาทด้วยซ้ำ แต่ก่อนที่เราจะไปเริ่มประกอบคีย์บอร์ดหรือเปิดเว็บไซต์เพื่อจับจองสินค้า เราไปดูดีกว่าว่าผู้ใช้งานต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง กับการประกอบคีย์บอร์ด ด้วยตัวเอง

วิธีประกอบคีย์บอร์ดด้วยตัวเอง

Custom Keyboard คืออะไร

จากบทความก่อนหน้า (Custom Keyboard ของตัวเองให้ปัง ด้วย Barebones) ที่เราได้พูดถึงกันไปแล้วว่า Custom Keyboard คืออะไร รวมไปถึงอุปกรณ์แสนสะดวกอย่าง Barebone ที่ทำให้คุณประกอบคีย์บอร์ดได้เองง่าย ๆ แต่การจะซื้อ Custom Keyboard ชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเองนั้นยังมีข้อมูลอีกมากมายให้คุณได้ใช้ตัดสินใจโดยในวันนี้เราจะมาเจาะลึก ข้อมูลเหล่านี้ในชิ้นส่วนต่าง ๆ ว่าสินค้าคีย์บอร์ดยี่ห้อไหน หรือส่วนเสริมใดมีความแตกต่างกัน เพื่อประกอบ Custom Keyboard ที่โดนใจคุณที่สุด

ชิ้นส่วนต่าง ๆ ในการ Custom Keyboard

ก่อนอื่นเรามา Recap ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ Custom Keyboard กันก่อน โดยโครงสร้างโดยง่ายของ Mechanical Keyboard นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนกระดูก หรือที่จำหน่ายกันรวม ๆ ว่า Barebone Keyboard ที่จะประกอบไปด้วยส่วน Case, PCB และ Plate และส่วนของ Custom Keyboard Keys ที่ประกอบไปด้วยส่วนของสวิตช์ และ คีย์แคปนั่นเอง โดยในแต่ละส่วน ก็จะเกี่ยวข้องกับสัมผัส และการใช้งานของคีย์บอร์ดที่แตกต่างกันออกไปโดยมีรายละเอียดตามนี้

1. Custom Keyboard Case

สำหรับ Case ถือว่าเป็นชิ้นส่วนแรกสุดที่คุณจะต้องเตรียมเมื่อต้องการประกอบคีย์บอร์ดเองซักชิ้น เพราะมันจะเป็นตัวกำหนดทั้งขนาด และรูปทรงโดยรวมของแป้นพิมพ์ของเรา ทั้งความลาดชัน ความสูง ขนาดคีย์บอร์ด (100% / 75%/ 60%) ตัวกรอบจะเปิดข้าง หรือปิดข้างเป็นต้น และอีกส่วนที่นักประกอบ Custom Keyboard ให้ความสำคัญมาก ๆ เวลาจะประกอบคีย์บอร์ดก็คือลักษณะของการประกอบกับแผ่น PCB นั้นเป็นอย่างไร เพราะจะส่งผลต่อสัมผัสในการพิมพ์และความ สม่ำเสมอของเสียงกดสวิตช์ด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันเราสามารถแบ่งวิธียึดแผ่น PCB กับเคสไว้ได้ 6 แบบ โดยมีข้อดีและข้อเสียต่างกันตามที่เราสรุปมาให้

Checklist for Custom Keyboard Case

  • เลือกไซส์คีย์บอร์ด (Full-Size/ TKL/ Compact)
  • ความชันความลาดเอียง สีสัน และดีไซน์
  • ดูวิธี Mount PCB ว่าเป็นแบบที่เราชอบหรือไม่ (รายละเอียดข้างล่าง)
  • เคสพลาสติกจะได้เสียงสวิตซ์ที่ก้องกว่า / เคสโลหะเสียงจะใสกว่า

Tray Mount Keyboards


Tray Mount Keyboards เป็นวิธีประกอบ Custom Keyboard ที่ง่ายที่สุด และถูกที่สุด แค่ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าไปตรง ๆ การ Mount Keyboard แบบนี้แม้จะสะดวก จะให้เสียงจากคลิกที่ไม่สม่ำเสมอ แต่ละส่วนจะดังหรือเบาไม่เท่ากัน รวมไปถึงสัมผัสกดด้วย สำหรับคนที่ใช้คีย์บอร์ดแบบ Clicky หรือต้องการเสียงอันเป็นเอกลักษณ์จากสวิตซ์แบรนด์ต่าง ๆ อาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่ วิธีแก้ไขคือใช้ Keyboard Plate ที่มีความแข็งสูงอย่าง Aluminum จะช่วยให้เสียงมีความเสถียรขึ้น แต่ไม่เทียบเท่า Mount แบบอื่น ๆ แน่นอน

Integrated Plate Keyboards


สำหรับการประกอบ Custom Keyboard เองด้วยวิธีการแบบ Integrated Plate Keyboards นั้นเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเก็บเสียงคลิกของคีย์บอร์ด และให้บาลานซ์ในการกดปุ่มเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีน้ำหนักเบาพกพาง่าย เพราะไม่มี Plate โลหะ แต่จะใช้ตัวยึดที่เป็น Top Frame แยกต่างหากทำหน้าที่เป็นทั้ง Case และ Plate ในตัวเดียว แน่นอนว่าเนื่องจากอุปกรณ์พิเศษไม่เหมือนเพื่อนทำให้มีต้นทุนสูงกว่าเพื่อนเล็กน้อย แต่สำหรับใครที่เล่น Silent Switch ต้องลอง

Sandwich Mount Keyboards


Sandwich Mount คือ Custom Keyboard Mounting ที่ใช้เคสบนและล่างหนีบเพลทเอาไว้ตรงกลางเหมือนทำ Sandwich การทำแบบนี้ทำให้คีย์บอร์ดมีความแข็งแรงเพราะทั้ง 3 ชิ้นส่วนจะยึดติดกันแน่นมาก ๆ เสียงก็มีความเสถียรเท่ากันทุก ๆ ปุ่ม และให้สัมผัสการกดที่ค่อนข้างแข็งเพราะเพลทถูกยึดเอาไว้กับเคสนั่นเอง

Gasket Mount Keyboards


สำหรับ Gasket Mount Keyboards นั้นจะเป็นการยึด Custom Keyboard แบบพิเศษคือไม่มีการยึดเพลทไว้ด้วยน็อต แต่จะใช้การหนีบ Plate ด้วย Case บนและล่าง และใส่ยาง Gasket ลงไปลองใต้คีย์บอร์ด ทำให้เก็บเสียงได้เงียบ และให้สัมผัสพิมพ์ที่นุ่มอย่าบอกใคร แต่ถือว่าเป็นการ Custom Keyboard ที่หาได้ยากเพราะมีความยุ่งยากและอุปกรณ์หลากหลาย

Top / Bottom Mount Keyboards


สำหรับ Top และ Bottom Keyboard นั้นถือว่าเป็น Mount ยอดนิยมของ Custom Keyboard เพราะแข็งแรงทนทาน ปรับแต่งง่าย แต่การจะยึดแบบนี้ได้นั้นจำเป็นจะต้องใช้เพลทที่สั่งทำขึ้นมาเป็นพิเศษ ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อไม่ยาก หรือไปหาตามร้านที่รับ Laser Cutting ก็ทำได้ง่าย ๆ เหมาะกับการ Custom Keyboard Plate ทั้งแข็งและอ่อนนุ่ม และให้เสียงได้อย่างเสมอกันในทุก ๆ ปุ่ม

Plateless Mount Keyboards


ปิดท้ายด้วยของแปลกอย่าง Plateless Mount Keyboards หรือการ Mount Custom Keyboard แบบไม่ใช้ Plate ทำให้เสียงมีความชัดเจน ไฟ RGB มีความสวยงาม สว่างคมชัด แน่นอนว่าต้องมาพร้อมกับข้อเสียเช่น ไม่กันน้ำ และแตกหักง่าย เพราะไม่มี Plate ที่มาช่วยแบ่งน้ำหนักให้แผ่น PCB นั่นเอง ใครที่เป็นสายพิมพ์หนัก พิมพ์แรง พิมพ์เร็ว พิมพ์รัว ไม่แนะนำ แต่ถ้าเป็นสายสวย Plateless Mount Keyboards จัดว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

ขนาดหลัก ๆ ของคีย์บอร์ด

Compact


สำหรับ Custom Keyboard ขนาด 60% หรือ Compact นั้น จะเหมาะกับการทำงานแบบพกพา แนะนำให้หาการเชื่อมต่อแบบไร้สายเอาไว้ด้วย เพราะจะช่วยให้ทำงานนอกสถานที่ได้สะดวกมาก ๆ เป็นอีก 1 ขนาดที่นิยมมาก ๆ ในกลุ่มคนเล่น Custom Keyboard

TKL


TKL หรือ Custom Keyboard 75% เหล่านี้เป็นที่นิยมมาก ๆ ในกลุ่มคนเล่น Custom Keyboard เพราะมีขนาดที่เข้ามือ พกพาง่ายจัดวางง่าย และไม่ต้องลงทุนกับ Case / Plate ขนาดใหญ่ รวมไปถึง ลดจำนวน Switch และ Keycaps ที่ต้องใช้ลงไป ทำให้ง่ายต่อการลงทุนและออกแบบ

Full-Size


สำหรับ Keyboard 100% นั้นมีข้อดีในเรื่องของพื้นที่ตกแต่งที่สามารถทำออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนมากที่สุดทั้ง Case และ Plate ขนาดใหญ่ หรือ Keyboard Switch และ Keycaps ที่ใช้จำนวนมากกว่าเพื่อนทำให้อาจจะไม่พบเจอมากในหมู่คนเล่น Custom Keyboard

2. Keyboard PCB

แผ่น PCB เป็นแผงวงจรตัว Hub สำหรับรับส่งสัญญาณจากตัวสวิตซ์ของ Custom Keyboard เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา หรือง่าย ๆ ว่าเป็นส่วนเดียวที่มีไฟวิ่งเข้า - ออก นั้นแหละ ฉะนั้น ถ้าอยากจะได้การเชื่อมต่อกับสายแบบไหน หรืออยากจะได้ไฟ LED RGB / Solid Light ต่าง ๆ นานา ก็มาจากการปรับแต่งหรือหาซื้อเจ้าแผ่น PCB ให้ตรงโจทย์ของเรา แน่นอนว่าถ้าอยากจะปรับแต่คีย์บอร์ดของเราให้เป็น RGB หรือทำงานแบบไร้สายได้ก็ต้องปรับแต่งที่ตัวแผ่น PCB นี้นี่แหละ โดยการเลือก PCB นั้นยังส่งผลต่อการจัดวาง Keycaps ของเราด้วย ซึ่งการออกแบบของ Custom Keyboard PCB ทั่ว ๆ ไปนั้น ก็จะมี 2 แบบได้แก่ ISO และ ANSI

Checklist for Keyboard PCB

  • อยากได้ไฟ LED รึเปล่า
  • ขั้วการเชื่อมต่อเป็นแบบไหน
  • หาซื้อสายเชื่อมต่อที่เข้ากันได้กับตัว PCB
  • รองรับขั้วสวิตซ์แบบไหน 3-Pins / 5-Pins
  • เลือกรูปแบบคีย์ ISO หรือ ANSI
  • อย่าลืมเลือกให้แผ่น PCB มีขนาดเท่ากับ Case ของเราด้วยนะ

ISO Design


สำหรับการออกแบบ ISO นั้น จะมีขนาด Enter ที่ใหญ่ และ Shift ซ้ายเล็ก ทำให้ไม่เหมาะกับการเล่นเกม (เพราะมีการใช้ปุ่ม Left Shift ในเกมหลากหลาย) และเป็นรูปทรงที่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้วในหมู่นักออกแบบ Custom Keyboard

ANSI Design


การออกแบบที่เป็นที่นิยมที่สุดของ Keyboard ทุกประเภท และเป็นรูปแบบที่นิยมที่สุดสำหรับ Custom Keyboard เหมาะกับการทำงานหลากหลายทั้งเล่นเกมและพิมพ์งาน และชิ้นส่วนสำหรับ Custom Keyboard ส่วนมากจะรองรับ Keyboard Layout แบบนี้

3. Custom Keyboard Plate

สำหรับส่วน Plate น่าจะเป็นชิ้นส่วนฝั่ง Barebone ที่นักประกอบคีย์บอร์ดมือสมัครเล่น ชอบเปลี่ยนกันมากที่สุดส่วนหนึ่งก็มาจากการเล่น Custom Keyboard เนี่ยคนส่วนมากจะเล่นกันเพราะต้องการ Edit สัมผัสของแป้นพิมพ์ให้เข้ามือตัวเองมากที่สุด ซึ่ง Plate คือส่วนแรกที่จะสร้างความแตกต่างนี้ได้นั่นเองครับ เพราะเนื่องจากตัว Plate เป็นตัวสำหรับล็อคส่วน Key Switchเข้ากับตัว Case ทำให้จะต้องแบกรับน้ำหนักของตัวปุ่มกดไปด้วย ซึ่งวัสดุที่แตกต่างกันออกไปก็ทำให้เกิดความยืดหยุ่นของตัวคีย์บอร์ดที่แตกต่างกันไปด้วย หลาย ๆ คนก็เชื่อว่าเพลทโลหะจะให้สัมผัสการพิมพ์ที่แข็งกว่า เสียงสวิตซ์ดังกว่าและในเพลทโลหะเองก็ยังมีสแตนเลส อลูมิเนียม หรือโลหะอื่น ๆ ให้เลือกตามความชอบอีกด้วย ส่วนเพลทที่เป็นพลาสติกก็จะมีความนุ่มหยุ่นพิมพ์สบายมือกว่าเป็นต้น และนอกจากเรื่องของสัมผัสแล้ว ผู้ใช้งานยังสามารถเพิ่มลูกเล่นเช่นการเพ้นต์สี หรือเลือกเพลทที่ใส่แผ่นซับเสียงลงไปเพื่อทำให้เสียงที่ได้ ไปจนถึงสีสันของตัว Custom Keyboard นั้นมีความแตกต่างกันมากขึ้น


Checklist for Custom Keyboard Plate


  • เลือกขนาด Plate ให้มีขนาดและดีไซน์เท่ากับ Case และ PCB
  • เลือกแนวเสียงและสัมผัสที่อยากได้
  • ต้องการชั้นฟองน้ำซับเสียงหรือไม่
  • เพลทโลหะสำหรับเสียงดัง สัมผัสแข็ง
  • เพลทอะคลิลิกสำหรับเสียงที่นุ่มนวลขึ้นสัมผัสอ่อนกว่าเล็กน้อย

4. Keyboard Switches

ว่าแล้วก็มาถึงจุดเด่นของ Mechanical Keyboard ทั่วฟ้าแดนดิน ก็อย่างที่บอกไปว่าคนที่หันมาสนใจประกอบ Custom Keyboard นั้นจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่าสัมผัสมาก ๆ และสวิตซ์คีย์บอร์ดคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการประกอบ Custom Keyboard เพราะทั้งน้ำหนัก สัมผัส และเสียง ต่างก็มีเจ้า Keyboard Switch พวกนี้นี่แหละเป็นตัวกำหนด ซึ่งตัวเลือกในปัจจุบันนั้นจะถือว่าครอบคลุมก็ใช่ แต่เรียกได้ว่าไม่หลากหลาย เพราะถ้าเทียบกับประเภท หรือดีไซน์สวิตซ์ทั้งหมดในตลาดเจ้า Blue Switch, Red Switch, Brown Switch ของ Cherry ที่เราเห็นกันตามแบรนด์คีย์บอร์ดชั้นนำนั้นก็เป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ในตัวเลือกทั้งหมดเท่านั้น และการใช้งาน Custom Keyboard จะทำให้คุณสามารถเลือกใช้ Exotic Switches ที่วางขายอยู่ตามตลาดได้เพื่อสัมผัสการพิมพ์ที่เข้ามือคุณที่สุด


* สำหรับ Barebones ของ MX Switch ทั่ว ๆ ไป นั้นจะเป็นแบบ 3-Pin



Checklist for Keyboard Switches


  • เลือกสัมผัสที่ชอบ (แข็ง/อ่อน/ปกติ)
  • เลือกจังหวะสวิตซ์ (จังหวะเดียว/สองจังหวะ)
  • เลือกเสียงสวิตซ์ (ดัง/ปานกลาง/เบา)
  • ขั้ว PCB ของเราเป็นแบบไหน
  • จากนั้นก็นำสเปคที่ได้ไปเลือกหา Keyboard Switch ที่ต้องการ

5. Keyboard Keycaps

ปิดท้ายกันด้วยชิ้นส่วนที่หลาย ๆ คนอาจจะคิดไม่ถึง แต่ในระยะยาวแล้วเจ้า Keycap นี้นี่แหละที่จะทำให้คุณเสียเงินมากที่สุด เพราะสำหรับ Custom Keyboard แล้ว Keycaps ถือว่าเป็นตัวกำหนดธีมและหน้าตาเกือบทั้งหมดของตัวแป้นพิมพ์ ว่าจะออกมาแบบไหน และเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องพบเจอทุกวัน นั่นทำให้เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ผู้ใช้งานสาย Custom ส่วนมากก็ไม่ปฏิเสธที่จะหา Keycaps มาสับเปลี่ยน และถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่มีความละเอียดอ่อนที่สุดในการเลือกซื้อ เพราะจะมีทั้งเรื่องของวัสดุที่แบ่งออกเป็นตัวยอดนิยมอย่าง ABS และ PBT หรือ Mount ของตัวสวิตซ์ว่ารองรับกับการใช้งานกับ Keycaps ของเราหรือไม่ พื้นผิวถูกใจรึเปล่า รวมไปถึงสีสัน และการ Custom Keycaps เองกลายเป็นทรง และธีมต่าง ๆ ไปจนถึงจ้างร้านรับทำ Keycaps โดยเฉพาะ ก็มี ทำให้ชิ้นส่วนนี้เป็นส่วนที่ลงทุนได้ไม่มีวันจบ


แนะนำ Keycap custom 3 ตัว น่าโดน

ภาพตัวอย่าง Custom Keycaps แบบต่าง ๆ

Keycaps ABS หรือ PBT ดีกว่า

สำหรับคนที่สนใจ Custom Keyboard สิ่งหนึ่งที่ถามกันมามากคือความแตกต่างระหว่าง Keycaps 2 แบบ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่า ABS และ PBT นั้นคือชนิดของพลาสติกที่ใช้ผลิตตัวแป้นกดนั่นเอง โดยในปัจจุบันกระแสก็จะเอนเอียงไทาง PBT ซะมาก บนแบรนด์เกมมิ่งใหญ่อย่าง Razer, HyperX หรือ Corsair เพราะโดยพื้นฐานคุณภาพของคีย์แคป PBT นั้นดีกว่า แต่จริง ๆ แล้วพลาสติก ABS เองก็มีหลายเกรด หลายราคาในตลาด แน่นอนว่ามีรุ่นที่แข็งแรงทนทานไม่ต่างอะไรกับ PBT ฉะนั้นถ้าจะต้องเลือกซื้อจริง ๆ แนะนำให้เลือกจากสัมผัสที่เราชอบจริง ๆ ดีที่สุด เพราะอย่าง Realforce ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแบรนด์คีย์บอร์ดขั้นเทพก็มีส่วนที่ใช้เป็นสวิตซ์ ABS นั่นเอง

สรุป ข้อดี - ข้อเสีย Keycaps ABS

  • มีหลายเรทราคา คุณภาพความแข็งแรงของพลาสติกขึ้นอยู่กับราคา
  • กระบวนการผลิต ทำให้ทำสีได้หลากหลายกว่า มีตัวเลือกมากกว่า
  • ความแม่นยำในการผลิตสูงกว่า โอกาสเกิดความผิดพลาดหลุด QC มีน้อย
  • สัมผัสเบานุ่มมือ มีความนุ่มหยุ่น และเสียงโปร่งเวลาพิมพ์
  • เนื้อพลาสติกมีความเหนียวแตกหักยาก แต่มีความมันวาว ขึ้นเงาง่าย
  • แพ้แดด เจอแดดต่อเนื่องแล้วเหลืองง่าย

สรุป ข้อดี - ข้อเสีย Keycaps PBT

  • ราคาเริ่มต้นสูง และมีราคาที่สูงขึ้นไปอีกสำหรับตัวที่เกรดดี ๆ
  • เนื้อพลาสติกแพ้แรงทุบ กระแทก ถ้าพกพาไม่ถูกวิธี อาจจะแตกหักได้ง่าย
  • คีย์แคปเนื้อหนา แข็ง มีสัมผัสหนักแน่นเวลาพิมพ์
  • ผิวด้าน ขึ้นเงายาก ใช้งานต่อเนื่องได้นาน แถมไม่ลื่น
  • เป็นคีย์แคปแบบเดียวที่สามารถใช้เครื่องปริ้นต์ลายลง Keycaps โดยตรงได้

*ตัวอย่างการขึ้นเงาของคีย์แคป ABS ในระยะแรก ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นเงาทั้งขึ้น

6. Custom Keyboard Accessory

และหลังจากประกอบคีย์บอร์ดเสร็จแล้ว ก็อย่าลืมพวกอุปกรณ์ใช้งานพ่วงต่าง ๆ ของ Custom Keyboard เช่นสายเชื่อมต่อที่มีให้เลือกหลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสายถัก สายแบน สาย USB 3.0 / 4.0 หรือ สายขดสำหรับการจัดพื้นที่การทำงานต่าง ๆ ความยาวของสายไฟเป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสุดท้ายในการประกอบ Custom Mechanical Keyboard ด้วยตัวเอง


คีย์บอร์ด custom 5 รุ่น น่าสนใจ ราคาดี Mercular แนะนำ

ก็จบลงไปแล้วนะครับ กับคู่มือช้อปปิ้ง สำหรับการซื้อชิ้นส่วน Custom Keyboard ในส่วนต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างในแต่ละวัสดุอย่างไร ก็หวังว่าข้อมูลชุดนี้จะช่วยให้คุณสามารถประกอบเจ้า Custom Keyboard ของตัวเองได้อย่างราบลื่น และได้การใช้งานที่ตอบโจทย์ตัวเองที่สุด สำหรับใครที่ประกอบ Custom Keyboard เสร็จแล้ว ก็อย่าลืมเอามาโพสต์อวดพร้อมเมาส์เกมมิ่งคู่ใจ หรือจะเป็นภาพโต๊ะคอมเท่ๆ ให้เพื่อนๆคนอื่นได้อิจฉาเล่นกัน บน Mercular Community ต่าง ๆ กันด้วยนะครับ หรือหากต้องการแบบเริ่มต้น ลองเลือกเป็นคีย์บอร์ดบลูสวิตช์ ก็หาซื้อได้ที่ Mercular.com วันนี้ทางเราขอทิ้งท้ายไว้ด้วย แนะนำแบรนด์สินค้า Custom Keyboard Barebones น่าสนใจอย่างแบรนด์ Glorious ที่มีคีย์บอร์ดประกอบได้เอง น่าสนใจอยู่หลายตัว มีทั้งที่เป็นตัว Case + PCB และ Plate พื้นฐาน เหมาะสำหรับคนที่อยากเริ่มต้น Custom Keyboard ด้วยตัวเองเป็นครัังแรก แค่หา Keyboard Switch และ Keycaps มาใส่ ก็เพียงพอ แล้วพบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ

article-banner-1
article-banner-2