บินโดรนอย่างไรให้ถูกกฏหมาย ? คำแนะนำสำหรับนักบินโดรนมือใหม่

26 ก.พ. 2563

บินโดรนอย่างไรให้ถูกกฏหมาย ? คำแนะนำสำหรับนักบินโดรนมือใหม่

สำหรับเครื่องบินโดรนนั้นก็เข้ามาเป็นที่นิยมในประเทศของเราได้ซักพักแล้ว แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าการบินโดรนนั้นจำเป็นจะต้องขอใบอนุญาต และลงทะเบียนกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศเสียก่อน ไม่ใช่ของที่จะใช้งานได้ทั่ว ๆ ไป โดยข้อกำหนดในการบินโดรนให้ถูกกฏหมายนั้นเป็นไปตามหัวข้อดังนี้

1. ขึ้นทะเบียนโดรนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของโดรนนั้นจำเป็นจะต้องลงทะเบียนโดรนกับ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง *ต้องลงทะเบียนกับทั้ง 2 หน่วยงานไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ได้แก่ กรมการบินพลเรือน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พื้นที่บนท้องฟ้าของประเทศไทย และ กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เนื่องจากโดรนถูกใช้ในการบันทึกภาพหรืองานต่าง ๆ ในทางนิเทศศาสตร์นั่นเอง

2. ประเภทของโดรนที่ต้องขึ้นทะเบียน

โดรนที่อยู่ในข่ายต้องลงทะเบียนนั้นจะมีขอบเขตดังนี้


  • โดรนน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และ ไม่มีกล้อง ไม่ต้องขึ้นทะเบียน
  • โดรนมีกล้องต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี
  • โดรนที่มีน้ำหนัก 2-25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน
  • ส่วนโดรนที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไปจะต้องได้รับอนุญาตจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรายกรณี


โดย หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรนจะมีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ และจะแจ้งผลการพิจรณาภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน

3. คุณสมบัติของผู้บังคับโดรน

นอกจากการลงทะเบียนโดรนแล้วชื่อที่ใช้ในการลงทะเบียนนั้นจำเป็นจะต้องถูกต้องและผ่านคุณสมบัติดังกล่าวด้วย ส่วนโดรนที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียนนั้นก็จำกัดผู้บังคับเอาไว้ที่ 18 ปีเป็นขั้นต่ำ หรือมิเช่นนั้นต้องมีผู้แทนที่ตรงตามคุณสมบัติเป็นผู้ดูแล ส่วนโดรนที่ต้องขึ้นทะเบียนนั้น ก็จะมีข้อจำกัดตามนี้


  • ผู้ใช้โดรนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
  • ไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความั่นคงของประเทศ
  • ไม่เคยได้รับโทษจำคุก ยาเสพติด หรือ ศุลกากร

4. ข้อกำหนดในการใช้โดรนบิน

สุดท้ายผู้ควบคุมโดรนจำเป็นจะต้องทำตามข้อกำหนดทั้ง 9 ข้ออย่างเคร่งครัด ส่วนการใช้งานนอกเหนือจากข้อกำหนดจำเป็นต้องขออนุญาตผ่านหน่วยงานที่ลงทะเบียนเพื่อขออณุโลมเป็นรายกรณีไป

 

  • ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อนทำการบิน
  • ห้ามทำการบินที่ก่อให้เกิดอันตราย
  • ห้ามทำการบินในบริเวณเขตหวงห้าม (สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่ได้รับการอนุญาต)
  • ผู้บังคับจะต้องมองเห็นตัวโดรนตลอดเวลาในขณะที่ทำการบิน และ ห้าม! ทำการบังคับโดรนโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
  • ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ห้ามบินโดรนในระยะ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานเว้นแต่ได้รับอนุญาต
  • ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน
  • ห้ามบังคับโดรนเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
  • ขณะทำการบินต้องมีระยะห่างแนวราบห่างจาก บุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง อาคาร มากกว่า 30 เมตร (100 ฟุต)


หวังว่าบทความนี้จะช่วยสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งานโดรนทุกคน ได้เข้าใจข้อกำหนด และข้อบังคับ โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน เพราะมีโทษปรับสูงสุด 1แสนบาท และจำคุกนานสูงสุด 1 ปี เรียกได้ว่าได้ไม่คุ้มเสียแน่ ๆ กับเงินค่าลงทะเบียนโดรน ซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นเบี้ยประกันอีกต่อนึง เรียกได้ว่าผู้ทำไม่ได้เสียหายหรือเสียประโยชน์อะไรเลยนั่นเอง

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2