ลําโพงต่อทีวีมีแบบไหนบ้าง? รุ่นไหนน่าใช้?
11 ก.พ. 2565
ปัญหาหนึ่งสำหรับคนมีทีวี LCD หรือ LED จอใหญ่ หรือเพิ่งซื้อทีวีใหม่เป็นครั้งแรกคือไม่พอใจกับเสียงของลำโพงที่ติดตั้งมาในทีวี หลายคนเลือกที่จะมองหาลำโพงภายนอกมาใช้งานเพิ่มเติมซึ่งปัจจุบันก็มีลำโพงหลายแบบที่ใช้งานร่วมกับทีวีได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ลำโพง Soundbar, ลำโพง Bookshelf, ลำโพงบลูทูธ ไปจนถึงชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ ลำโพงแต่ละประเภทต่างก็มีจุดเด่นในแบบของตัวเอง และถ้าคุณยังไม่รู้ว่าจะเอาลำโพงประเภทไหนมาต่อใช้งานกับทีวีอยู่ละก็ บทความนี้จะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับลําโพงต่อทีวีทั้ง 4 ประเภทข้างต้น รวมถึงทริคเล็กๆ น้อยๆ ในการเลือกซื้อ พร้อมแนะนำรุ่นที่น่าสนใจ รับรองว่าอ่านจบได้ข้อมูลไปประกอบการซื้อแน่นอน ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าลำโพงต่อทีวีทั้ง 4 ประเภทนี้มีจุดเด่นอย่างไร น่าใช้แค่ไหน
ลำโพงซาวด์บาร์ (Soundbar)
ลำโพงต่อทีวีประเภทแรกที่ Mercular.com คิดว่าเหมาะการนำมาต่อใช้งานกับทีวีมากที่สุดก็คือลำโพงซาวด์บาร์ ลำโพงประเภทนี้ถูกคิดค้นและออกแบบมาเพื่อใช้งานกับทีวีโดยเฉพาะและปัจจุบันก็ได้รับความนิยมมากที่สุดด้วย จุดเด่นของลำโพงซาวด์บาร์คือรูปร่างที่มีลักษณะเป็นกล่องหรือตู้ชิ้นเดียววางนอนในแนวยาว ทำให้ลำโพงประเภทนี้เหมาะกับการจัดวางไว้ใต้ทีวี แถมยังดูทันสมัยและกลมกลืน นอกจากรูปร่างแล้วลำโพงซาวด์บาร์ยังมีจุดเด่นในเรื่องการให้เสียงที่กว้างกระจายพุ่งเข้าหาผู้ชมด้านหน้าในระดับที่พอดีกับการนั่งดูทีวีบนโซฟา ทำให้ผู้ชมได้ยินเสียงจากทีวีได้อย่างชัดเจน
ลำโพงซาวด์บาร์ที่ใช้กันในบ้านจะมีตั้งแต่ระบบเสียงสเตอริโอแยกซ้าย-ขวา 2.0 แชนแนล ไปจนถึงหลัก 10 แชนแนลขึ้นไป เทคโนโลยีด้านเสียงที่พัฒนาขึ้นในปัจจุบันทำให้ลำโพงซาวด์บาร์รุ่นใหม่ๆ สามารถใส่ดอกลำโพงเข้าไปภายในได้ในจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่แยกกันขับเสียงในแต่ละย่านความถี่ รวมถึงรองรับเทคโนโลยีเสียงรอบทิศทางอย่าง Dolby Atmos และ DTS:X เพื่อการรับชมภาพยนตร์ได้อย่างเต็มอรรถรส แต่ไม่ใช้ว่าลำโพงซาวด์บาร์จะดูหนังดีเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันซาวด์บาร์ทุกรุ่นตอบสนองการฟังเพลง, ฟังข่าว, ดูกีฬา ไปจนถึงเล่นเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายรุ่นมีโหมดเสียงที่ปรับจูนมาเพื่อการรับชมสื่อต่างๆ โดยเฉพาะ ซึ่งช่วยให้เสียงที่ออกมามีความเหมาะสมกับสิ่งที่รับชมในขณะนั้น
ลำโพงซาวด์บาร์รุ่นเริ่มต้นส่วนใหญ่จะไม่มีตู้ซับวูฟเฟอร์มาในชุดซึ่งคุณภาพเสียงที่ได้ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานมาตรฐาน แต่ถ้าอยากได้มิติเสียงเบสที่หนักแน่นมากขึ้น ซาวด์บาร์ที่มาพร้อมกับตู้ซับวูฟเฟอร์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันหลายรุ่นก็เชื่อมต่อกับตู้ซับวูฟเฟอร์ได้แบบไร้สายทำให้ไม่ต้องต่อสายไฟให้เกะกะสายอีกต่อไป นอกจากนี้ ซาวด์บาร์รุ่นสเปคสูงจะมีลำโพง satellite แยกออกมาอีก 1 – 2 คู่ สำหรับติดตั้งด้านหลังผู้ฟังเพื่อสร้างเสียงเซอร์ราวด์ที่สมจริงยิ่งขึ้น
เรื่องเทคโนโลยีภายในลำโพงซาวด์บาร์เป็นจุดที่หลายแบรนด์ต่างก็แข่งขันกันเพื่อชิงความเป็นผู้นำและยังส่งผลต่อราคาจำหน่ายของลำโพงซาวด์บาร์รุ่นนั้นๆ เราแนะนำว่าก่อนจะซื้อลำโพงซาวด์บาร์สักตัวควรศึกษาสเปคและหาข้อมูลให้มากเพื่อที่จะได้ซาวด์บาร์ตรงกับการใช้งานและความต้องการมากที่สุด
ลำโพง Bookshelf (Bookshelf Speaker)
ลำโพงต่อทีวีประเภทต่อมาที่อยากแนะนำคือลำโพง Bookshelf ลำโพงประเภทนี้อาจจะนิยมในการฟังเพลงมากกว่าด้วยดีไซน์ การออกแบบ โครงสร้างภายใน รวมถึงการจูนเสียง แต่ก็มีหลายรุ่นที่สามารถใช้งานร่วมกับทีวีได้โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีช่องเชื่อมต่อที่เข้ากันได้กับทีวีเช่น HDMI, RCA หรือ Optical TOSLINK
ลำโพง Bookshelf กับการต่อทีวีเป็นที่นิยมน้อยกว่าการต่อกับลำโพงซาวด์บาร์แต่ก็มีจุดเด่นที่เหนือกว่าคือเรื่องคุณภาพเสียงโดยเฉพาะเสียงเพลงและเสียงดนตรีที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่า (ในระดับราคาเท่ากัน) นอกจากนี้ ลำโพง Bookshelf หลายรุ่นยังสามารถต่อซับวูฟเฟอร์ภายนอกเพิ่มเติมได้เหมือนกับลำโพงซาวด์บาร์ทำให้ได้ย่านเสียงเบสที่เด่นชัดมากขึ้น คุณภาพเสียงดีเยี่ยมไม่แพ้กัน
ข้อจำกัดของลำโพง Bookshelf กับการต่อทีวีคือไม่สามารถสร้างเสียงเซอร์ราวด์รอบทิศทางได้ เนื่องจากลำโพง Bookshelf จะมาเป็นคู่ซ้าย-ขวาจึงขับได้แต่เสียงสเตอริโอเท่านั้น ดังนั้นถ้าต้องการนำไปใช้ดูหนังแบบหนักๆ จะไม่ตอบโจทย์สักเท่าไร เหมาะกับคนที่ต้องการดีไซน์ที่สวยงาม ดูหรูหราพรีเมียม และเน้นการฟังเพลงเป็นหลักมากกว่า
ลำโพงบลูทูธ (Bluetooth Speaker)
ลำโพงบลูทูธกับการต่อใช้งานกับทีวีดูจะเป็นอะไรที่ขัดแย้งกันในความรู้สึก แต่ความจริงแล้วบางรุ่นสามารถทำได้โดยมีเงื่อนไขคล้ายๆ กับลำโพง Bookshelf คือต้องมีช่องเชื่อมต่อที่เข้ากันได้กับทีวีเช่น HDMI, RCA หรือ Optical TOSLINK ถ้าจะนำลำโพงบลูทูธมาต่อใช้งานกับทีวีจริงๆ แนะนำว่าควรเป็นลำโพงบลูทูธที่มีขนาดกลาง มีกำลังขับสูง เน้นวางกับที่ ไม่เน้นพกพา และเป็นรุ่นที่เสียบปลั๊กไฟไม่มีแบตเตอรี่ในตัว เพื่อที่เราจะสามารถจั้งวางลำโพงไว้ข้างทีวีได้แบบถาวร ยิ่งถ้ามีรีโมทคอนโทรลมาด้วยก็จะเพิ่มความสะดวกในการควบคุมปรับเสียงมากขึ้น
ลำโพงบลูทูธตั้งโต๊ะระดับไฮเอนด์ส่วนใหญ่จะมีดีไซน์ที่สวยงามจึงเป็นได้ทั้งของแต่งตกห้องและทำหน้าที่แทนลำโพงติดทีวี คุณภาพเสียงที่ได้ย่อมดีกว่าลำโพงเดิมติดทีวีแน่นอน สามารถดูหนัง ฟังเพลง ดูรายการข่าว ดูกีฬาได้ตามปกติ เล่นเกมก็ยังได้ แต่ถ้าเป็นลำโพงบลูทูธระดับราคาปานกลางลงมาถึงระดับเริ่มต้นส่วนใหญ่จะต่อกับทีวีไม่ได้
ข้อจำกัดของลำโพงบลูทูธคือมันเป็นลำโพงตัวเดียวจึงไม่สามารถให้เสียงสเตอริโอแยกซ้าย-ขวาได้ สร้างเสียงเซอร์ราวด์รอบทิศทางแบบลำโพงซาวด์บาร์ไม่ได้ ไม่มีซับวูฟเฟอร์ และสามารถต่อซับวูฟเฟอร์ภายนอกได้ ดังนั้นเรื่องมิติเสียงต่างๆ จึงเป็นรองลำโพงซาวด์บาร์และลำโพง Bookshelf ดังนั้นลำโพงบลูทูธจะเหมาะกับการใช้เป็นลำโพงต่อทีวีแบบชั่วคราวหรือแก้ขัดไปก่อนในกรณียังไม่มีลำโพงซาวด์บาร์ ถ้าจะใช้ระยะยาวเราไม่แนะนำ
ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ (Home Theater System)
ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ถือเป็นจุดสูงสุดของลำโพงต่อทีวีก็ว่าได้ จุดเด่นของลำโพงประเภทนี้ก็ตามชื่อเลยคือเกิดมาเพื่อเป็นลำโพงสำหรับดูหนังภายในบ้านและให้ประสบการณ์ภาพและเสียงระดับเดียวกับโรงภาพยนตร์ ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่จะประกอบด้วยลำโพงหลายตำแหน่งโดยจะเริ่มตั้งแต่ 5.1 แชนแนล ไล่ไป 7.1 แชนแนล และอาจจะเลยไปถึง 9.1 แชนแนล หรือเกิน 10 แชนแนล สามารถสร้างเสียงเซอร์ราวด์รอบทิศทางได้สมจริง รองรับทั้งเทคโนโลยี Dolby Atmos และ DTS:X ให้เสียงเบสที่หนักแน่น กระหึ่ม เสียงเอฟเฟกต์ต่างๆ สมจริง ทิศทางเสียงแม่นยำเหมือนนั่งอยู่ท่ามกลางเหตุหารณ์จริง จึงเหมาะสำหรับติดตั้งในห้องดูหนังหรือห้องนั่งเล่นภายในบ้าน
ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์จำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์รับสัญญาณภาพและเสียงหรือ AV Reciever ซึ่งเป็นดั่งศูนย์กลางการควบคุมสัญญาณภาพและเสียง คอยจัดการสัญญาณ ขยายสัญญาณ แยกสัญญาณ ก่อนจะส่งไปยังลำโพงแต่ละแชนแนล ผู้ใช้สามารถปรับปรุงเสียงที่อยากได้ยินอย่างละเอียด นอกจากนี้ ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์สมัยใหม่ยังรองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth เพื่อเล่นเพลงจากสมาร์ทโฟน บางรุ่นล้ำหน้ากว่าเพราะเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ ควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันได้ สั่งการด้วยเสียงได้
ไม่ใช่ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์จะมีไว้สำหรับดูหนังเพียงอย่าง การรับชมสื่งอื่นๆ ก็ตอบสนองได้ดีมากๆ เช่นการฟังเพลงความละเอียดสูง Hi-Res Audio รับชมรายการทีวีปกติ ดูกีฬา ดูข่าว ไปจนถึงการเล่นเกม จึงไม่ต้องกังวลว่าจัดชุดใหญ่มาแล้วจะทำได้ได้แค่หน้าที่เดียว อย่างไรก็ตาม ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ต้องใช้การต่อพ่วงอุปกรณ์มากมายหลายชิ้นซึ่งค่อนข้างมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ แนะนำว่าควรศึกษาหาความรู้เรื่องระบบเครื่องเสียง ทางที่ดีถ้าอยากได้ชุดลำโพงโฉมเธียเตอร์มาไว้ที่บ้านควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการออกแบบ การจัดวางลำโพง และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกต้องสมบูรณ์
แนะนำลำโพงต่อทีวีน่าใช้
สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป Mercular.com มองว่าลำโพงซาวด์บาร์เป็นลำโพงต่อทีวีที่น่าใช้และเหมาะสมที่สุดด้วยการใช้งานที่ง่าย ศึกษาหามูลง่าย ไม่ต้องต่อพ่วงอุปกรณ์อะไรมากมายเพียงแค่เสียบสาย HDMI ก็ใช้งานได้ทันที ในตลาดมีตัวเลือกมากมายหลายแบรนด์ หลายช่วงราคา สามารถเลือกสเปคและฟีเจอร์ได้ตามงบประมาณที่มี ในส่วนนี้เราจึงขอเลือกลำโพงซาวด์บาร์ที่น่าสนใจมากแนะนำทุกท่าน โดยจะแบ่งตามช่วงราคาเพื่อจะได้กรองดูได้ง่าย ดังนี้ครับ
เริ่มต้นที่ราคาไม่เกิน 10,000 บาท ในช่วงราคานี้หลายคนสามารถซื้อได้ มีความคุ้มค่า มีสเปคพื้นฐานที่เหมาะสมและครบครัน รุ่นที่น่าสนใจในตอนนี้คือ
ขยับขึ้นมาในระดับราคาไม่เกิน 20,000 บาท ก็มีลำโพงซาวด์บาร์น่าสนใจหลายรุ่น ลำโพงราคาระดับนี้ส่วนใหญ่จะมาพร้อมระบบเสียงรอบทิศทางและรองรับ Dolby Atmos กับ DTS:X สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ได้เต็มอรรถรส รวมถึงหลายรุ่นยังรองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi สามารถควบคุมสั่งงานได้ผ่านแอปพลิเคชัน จึงใช้งานด้านอย่างสะดวกครบครัน โดยรุ่นที่ Mercular.com อยากแนะนำได้แก่
สำหรับคนที่ต้องการความสุดยอดทั้งด้านดีไซน์ ฟีเจอร์ และคุณภาพเสียง ลำโพงซาวด์บาร์ระดับไฮเอนด์ราคา 20,000 บาทขึ้นไปเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงราคาระดับนี้คุณจะได้รับลำโพงที่มีฟังก์ชันจัดเต็มที่สุด เทคโนโลยีเสียงที่ดีที่สุด คุณภาพเสียงระดับเทพ ตลอดจนการจำลองเสียงรอบทิศทางที่สมจริง มอบความสนุกได้เต็มพิกัดในทุกการรับชม โดยรุ่นที่ Mercular.com อยากแนะนำได้แก่
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับลำโพงต่อทีวีหลากหลายรูปแบบที่ Mercular.com มาแนะนำในบทความนี้ ลำโพงทั้ง 4 ประเภทสามารถใช้งานกับทีวีได้อย่างไม่มีปัญหาแต่เรามองว่าลำโพงที่เหมาะสมที่สุดคือลำโพงซาวด์บาร์ ซึ่งลำโพงทรงแท่งยาวนี้มีทั้งความอเนกประสงค์ในการใช้งาน การเชื่อมต่อที่สะดวก การใช้งานที่ง่าย เทคโนโลยีเสียงที่มีประสิทธิภาพ จำลองเสียงเซอร์ราวด์ได้สมจริง ตลอดจนตัวเลือกในตลาดที่หลากหลายครอบคลุมทุกช่วงราคา จึงทำให้ลำโพงซาวด์บาร์ได้รับความนิยมสูงสำหรับการนำมาใช้เป็นลำโพงต่อทีวีนั่นเอง ขณะเดียวกันลำโพงประเภทอื่นก็มีจุดเด่นต่างกันไป ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าว่าต้องการใช้งานเน้นไปที่ด้านไหน ถ้าเน้นฟังเพลง ลำโพง Bookshelf ต่อทีวีก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ถ้าชอบดูหนัง อยากมีโรงหนังส่วนตัวไว้ที่บ้านก็จัดชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ชุดใหญ่ทีเดียวจบ
Mercular.com หวังว่าบทความนี้จะเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่กำลังมองหาลำโพงต่อทีวีหรือลำโพงติดผนังมาใช้งานกันอยู่นะครับ ถ้าหากสนใจลำโพงรุ่นที่เราแนะนำในบทความก็สามารถคลิ๊กเข้าไปสั่งซื้อได้ สุดท้ายนี้ทางเราต้องขอตัวลาไปก่อน พบกับบทความ Buying Guide ดีๆ แบบนี้ได้เรื่อยๆ ที่เว็บไซต์ของเรา สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ