วิธีใส่หูฟัง In Ear ที่ถูกต้อง ใส่อย่างไรให้สบาย กระชับ ไม่หลุดง่าย
27 ต.ค. 2565
หากพูดถึงหูฟังขนาดเล็กที่มีคนนิยมใช้เป็นอันดับต้นๆ ประเภทของหูฟังที่หลายๆ คนน่าจะนึกถึงคงไม่พ้น หูฟัง In Ear นั่นเอง ด้วยขนาดที่เล็กพกพาง่าย หยิบจับสะดวก เมื่อสวมใส่แล้วจะให้ความรู้สึกเหมือนใส่จุกอุดหู ทำให้สามารถกันเสียงภายนอกได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการสวมใส่ที่ต้องสอดจุกซิลิโคนเข้าไปในรูหูจึงทำให้แน่นกับรูหู บล็อคเสียงจากภายนอกให้เข้ามาได้น้อย เสียงจากภายนอกจึงไม่รบกวนเวลาฟังเพลง โดยพื้นฐานของ หูฟัง In Ear จริงๆ แล้วถูกดัดแปลงมาจาก หูฟัง Earbud แบบดั้งเดิมที่จะสวมใส่สบายหู แต่ก็มีจุดอ่อนในเรื่องการสวมใส่ที่อาจจะไม่กระชับแน่นหู รวมถึงมีการหลุดรอดของเสียงออกไปบ้างก่อนที่จะมาพัฒนาเป็น หูฟัง In Ear โดยการสวมใส่มีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือเสียบเข้าไปในหูตรงๆ และปล่อยสายไว้ด้านหน้าตามปกติ และแบบที่สองคือสวมใส่แบบอ้อมจากด้านหลังใบหูซึ่งมีข้อดีคือทำให้หูฟังหลุดได้ยากขึ้น เนื่องจากมีสายเกี่ยวที่หลังใบหู โดยจุดเด่นหลักๆ ของ หูฟัง In Ear ที่เห็นได้ชัดๆ เลยก็จะมี 2 ข้อแบ่งเป็นข้อแรกคือการสวมใส่ที่แน่นกระชับ สวมใส่เข้าไปแล้วฟิตพอดีหูไม่หลุดหรือเคลื่อนออกจากหูง่ายๆ ไม่ว่าจะขยับหรือเคลื่อนไหวรุนแรงเพียงใด เหมาะกับการสวมใส่ออกกำลังกาย สวมใส่ขณะเดินไปมา หรือสวมใส่ขณะทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอด และอีกข้อก็คือเรื่องเสียงที่หาก หูฟัง Earbud นั้นมีจุดอ่อนที่การสูญเสียย่านเสียงบางย่าน โดยเฉพาะเบสออกไป หูฟัง In Ear ก็เหมือนกับทางแก้หรือก็คือการออกแบบมาให้ไม่สูญเสียย่านเสียงออกไปโดยเฉพาะย่านเบส และด้วยขนาดที่เล็กทำให้สามารถขับย่านเสียงได้อย่างครบครัน ให้ภาพรวมเสียงที่มีความสด เนื้อเสียงแน่นครบถ้วนทุกย่าน และเก็บรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะย่านเบสที่ขับออกมาได้แรง กระหึ่มกว่าประเภทอื่น โดยที่ไม่จำเป็นต้องใส่ไดรเวอร์เบสขนาดใหญ่ลงไป นั่นเป็นเพราะด้วยการสวมใส่แบบ In Ear นั่นเอง ทั้งหมดนี้จึงทำให้เป็นหูฟังที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องการใช้งานมากๆ และเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่ไม่ชอบ หูฟัง Earbud
และเพื่อเป็นการเอาใจผู้ที่กำลังมองหา หูฟัง In Ear ในครั้งนี้ mercular.com จึงได้รวบรวมเอา วิธีใส่หูฟัง In Ear ใส่อย่างไรให้สบาย กระชับหู มาแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นผู้ใช้งานมือใหม่ ไม่เคยใช้งานหูฟัง In Ear มาก่อน รวมถึงผู้ที่มีปัญหาการสวมใส่หูฟัง In Ear ได้ไม่สบาย และอึดอัดหู มาให้กับผู้อ่านทุกคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะสวมใส่อย่างไร และมีวิธีใดบ้างนั้น เราไปดูกันเลยครับ
วิธีใส่หูฟัง In Ear ใส่อย่างไรให้สบาย กระชับหู
1. การสวมใส่หูฟัง In Ear ให้ดึงส่วนบนของใบหูเบาๆ ใส่ปลายของหูฟัง In Ear เอียร์บัดเข้าไปในรูหู และบิดหูฟังเล็กน้อยเพื่อให้ หูฟังเข้าที่และแนบสนิทกับช่องหู ซึ่งวิธีการสวมใส่เช่นนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และยังเป็นวิธีที่ช่วยให้มั่นใจได้เลยว่าหูฟัง In Ear จะเข้าไปในช่องหูได้อย่างพอดี และตัวจุกหูฟังจะมีการเสียดสีขณะสวมใส่เข้ากับช่องหูน้อยที่สุด ทำให้ช่องหูไม่เกิดการบาดเจ็บอีกด้วยครับ และหากรู้สึกว่ายังไม่พอดีก็ให้ขยับตัวหูฟังเล็กน้อย เพื่อให้หูฟังทำมุมพอดีกับช่องหู หรือหากยังรู้สึกไม่สบายก็ให้ลองถอดออกและสวมใส่ด้วยวิธีเดิมอีกครั้งครับ
2. หากสวมใส่ด้วยวิธีข้างต้นแล้วยังรู้สึกว่าสวมใส่ได้ไม่พอดี อาจจะเป็นปัญหาจากตัว จุกหูฟัง ที่มีขนาดไม่พอดีกับช่องหูก็เป็นได้ เพราะตามธรรมชาติแล้วช่องหูของแต่ละคนนั้นจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะมีช่องหูที่ใหญ่ บางคนอาจจะมีช่องหูที่เล็ก ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุให้หูฟัง In Ear ทุกรุ่นจากทุกแบรนด์จึงมาพร้อมกับ จุกหูฟังขนาดอื่นๆ ให้เลือกเปลี่ยน โดยขนาดมาตรฐานจะเป็น ไซส์ M แต่ก็มีผู้ใช้งานบางคนที่มีช่องหูขนาดเล็กซึ่งเหมาะกับไซส์ S หรือช่องหูขนาดใหญ่ที่จะเหมาะกับไซส์ L ให้ลองเปลี่ยนขนาดของจุกหูฟัง จากนั้นสวมใส่ตามวิํรข้างต้นอีกครั้งก็จะสามารถใส่ได้พอดีครับ
3. บางครั้งการสวมใส่จุกซิลิโคนที่ทางหูฟังให้มาก็อาจจะไม่พอดีกับช่องหู 100% แม้จะลองเปลี่ยนไปใช้ไซส์อื่นๆ ดูบ้างแล้ว นั่นเป็นเพราะช่องหูของมนุษย์นั้นไม่ได้มีแค่ S, M หรือ L เท่านั้น แต่ยังมี SS, SM, MM, ML, LL และ XL รวมไปถึงขนาดอื่นอีกมากมาย ซึ่งวิธีแก้ก็คืออาจจะต้องลองซื้อจุกซิลิโคนหูฟังขนาดอื่นๆ ที่มีขายในตลาด ณ ปัจจุบันมาลองเปลี่ยนดู ซึ่งจุกหูฟัง In Ear ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีแค่แบบ ซิลิโคนเท่านั้น แต่ยังจุกหูฟังแบบอื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้
- 3.1 จุกซิลิโคน : หรือจุกพื้นฐานที่เหล่าบรรดาหูฟัง In Ear นั้นเลือกใช้ ข้อดีของจุกประเภทนี้คือวัสดุที่เป็นซิลิโคนที่อ่อนโยนต่อช่องหู สวมใส่แล้วไม่ทำให้ระคายเคือง นัดเข้าถอดออกง่าย และคืนรูปได้ง่ายหากไม่ถูกทับหรือบีบให้ผิดรูปเป็นระยะเวลานาน รวมถึงยังสามารถปรับแต่งได้ง่ายทั้งการออกแบบด้านในให้เป็นเกลียวคลื่นในบางรุ่น, การออกแบบให้มีปุ่มๆ หรือจุดๆ ด้านใน ไปจนถึงออกแบบให้ซิลิโคนภายในมีหลายชั้น ซึ่งทั้งหมดนี่ก็เพื่อการปรับปรุงแนวเสียงให้แตกต่างออกไปจากเดิม โดยที่เป็นเทคโนโลยีจากแบรนด์ต่างๆ นั่นเอง
- 3.2 จุกเมโมรี่โฟม : จุกประเภทที่ 2 ที่จะช่วยในเรื่องของการสวมใส่ให้สบาย แน่น และกระชับหู รวมถึงบล็อคเสียงจากภายนอกให้เงียบสนิทมากยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถที่เป็นเอกลักษณ์ของจุกเมโมรี่โฟมที่สามารถดูดซับแรงกดทับได้เป็นอย่างดีรวมถึงยังสามารถคืนรูปได้เร็วอีกด้วย ทำให้เมื่อสวมใส่จุกเมโมรี่โฟมเข้าไปแล้วจะให้ความรู้สึกเหมือนใส่ Earplug อุดหู และยังช่วยป้องกันจากเสียงนอกรูหูได้ดีกว่าจุกซิลิโคนอีกด้วย
- 3.3 จุกโฟมโพลียูรีเทน : จุกประเภทใหม่ล่าสุดที่เป็นเทคโนโลยีจากทาง Sony เปิดตัวครั้งแรกในหูฟัง True Wireless รุ่น Sony WF-1000XM4 ที่มีคุณสมบัติแบบเดียวกับ จุกเมโมรี่โฟม สามารถซึมซับแรงกดทับได้เป็นอย่างดี และคืนรูปได้อย่างรวดเร็ว และยังมีผิวสัมผัสที่นุ่มนวลอีกด้วย จุดเด่นคือเมื่อสวมใส่เข้าไปในหู จุกจะคืนรูปจนอุดช่องหูทั้งหมด ทำให้ช่วยปผ้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี ทำให้เหมาะกับการใช้งานกับ หูฟังตัดเสียงรบกวน เป็นหลัก
และแแน่นอนว่าการเปลี่ยน จุกหูฟัง นอกจากจะทำให้การสวมใส่นั้นมีความกระชับมากยิ่งขึ้นและพอดีหูแล้วนั้น ในบางรุ่นยังพัฒนาในเรื่องของแนวเสียง เช่นอาจจะเพิ่มความหนา ความยืดหยุ่นของเสียงภายใน หรือเลือกใช้เมมโมรี่โฟมที่กันเสียงได้ดี ไปจนถึงการออกแบบท่อขับเสียงต่างๆเพื่อช่วยในเรื่องการส่งสัญญาณเสียงให้ดีขึ้นและเปลี่ยนไปจากเดิมอีกด้วย
เป็นยังไงกันบ้างครับกับ วิธีใส่หูฟัง In Ear ใส่อย่างไรให้สบาย กระชับหู ที่ทาง mercular.com ได้รวบรวมมาแนะนำกันในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วการสวมใส่หูฟัง In Ear นั้นง่ายมากๆ และมีวิธีการใส่ที่ไม่ยุ่งยาก รวมถึงหากสวมใส่ได้ไม่พอดีก็สามารถเปลี่ยนขนาดของจุกซิลิโคนได้ ไปจนถึงเปลี่ยนประเภทของจุกหูฟังให้พอดีและสวมใส่ได้สบายหูมากที่สุดอีกด้วย เชื่อว่าน่าจะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการสวมใส่ หูฟัง In Ear และผู้ที่กลัวว่าใส่หูฟัง In Ear แล้วจะเจ็บหูนั้นสามารถสวมใส่ได้อย่างถูกต้องและสบายหูได้อย่างแน่นอนครับ
ซึ่งทาง mercular.com ก็หวังเป็นอย่างยิ่งครับว่าข้อมูล วิธีใส่หูฟัง In Ear ใส่อย่างไรให้สบาย กระชับหู จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ และหากอ่านแล้วรู้สึกอยากจับจอง หูฟัง In Ear หรือ จุกหูฟัง In Ear รุ่นไหน ก็สามารถกดเข้าไปซื้อได้ที่ www.mercular.com ได้เลยครับ ท้ายนี้ mercular.com ก็ต้องขอตัวลาไปก่อน ครั้งหน้าหากมีสินค้าใหม่ๆ รุ่นใดน่าสนใจอีก ก็จะรีบนำมาแนะนำกันแน่นอนครับ สำหรับครั้งนี้ สวัสดีครับ