การ์ดเสียง หรือ Soundcard คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับคอมพิวเตอร์
5 ก.ย. 2561
หากพูดถึง การ์ดเสียง หรือ Soundcard เชื่อได้ว่าคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงอุปกรณ์ที่เป็นไดร์เวอร์อย่างหนึ่งเวลาประกอบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแจกแจงเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ ทั้งขับเสียงออก หรือรับเสียงเข้า ซึ่งถ้าเราไม่มีการ์ดเสียง หรือ Soundcard นี้แล้ว คอมพิวเตอร์ของเราก็คงไม่สามารถขับเสียงออกมาได้ ไม่ว่าจะเชื่อมต่อผ่านลำโพง หรือหูฟังเกมมิ่งก็ตามที ดังนั้นการ์ดเสียง หรือ Soundcard จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการ์ดเสียง หรือ Soundcard กันให้มากขึ้นไปอีกครับ
Soundcard คืออะไร?
การ์ดเสียง หรือ Soundcard คือแผงวงจรที่สร้างเสียงต่าง ๆ แล้วส่งไปยังลำโพง โดยปัจจุบันเทคโนโลยีของการ์ดเสียง (Sound Card) ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านของเรากลายเป็นโฮมเธียเตอร์ได้เลยทีเดียว ด้วยเทคโนโลยีเสียง 3 มิติ หรือระบบเสียงรอบทิศทางนั้นจะมีหลายชื่อ เนื่องจากผู้ผลิตต่างก็ต้องการที่จะคิดค้นเทคโนโลยีที่เป็นของตัวเอง เช่น EAX ของ Creative เป็นต้น
รูปแบบของ Sound Card มีอะไรบ้าง ?
โดยทั่วไปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ คือ
- แบบออนบอร์ด (Sound On Board) เป็นระบบเสียงตามมาตรฐาน AC'97 หรือ IntelHigh Definition Audio อยู่ในรูปแบบของชิปเสียง ถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดเพื่อพร้อมสำหรับใช้งาน โดยไม่ต้องหาการ์ดเสียงมาใส่
- แบบตัวการ์ดเสียง (Sound Card) เป็นระบบเสียงที่ได้คุณภาพดีกว่าแบบออนบอร์ด แต่จะต้องซื้อการ์ดเสียง โดยมากใช้เสียบลงในช่องสล็อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด
Soundcard มีกี่ประเภท?
ชนิดของการ์ดเสียง (Sound Card) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งสามารถแบ่งชนิดออกตามอดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่
แบบ ISA
คือการ์ดเสียงแบบ Internal ซึ่งผลิตออกมานานแล้วจะใช้ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่มีสล็อต ISA ระบบเสียงยังไม่ได้คุณภาพ แต่ก็เป็นการ์ดเสียง ที่ได้รับการนิยมในสมัยอดีด แต่ในปัจจุบันการ์ดเสียงแบบ ISA ไม่มีแล้ว
แบบ PCI
คือการ์ดเสียงแบบ Internal เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสังเคราะห์เสียงได้อย่างมีคุณภาพและมีราคาไม่แพงมากแต่ก็มีราคาแพงในบางรุ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ
แบบ External
โดยปกติแล้วชนิดของการ์ดเสียงแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด การ์ดเสียง (Sound Card) แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าการ์ดเสียงแบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก การ์ดเสียง ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
สรุปข้อดีและข้อเสียของการ์ดเสียง (Sound Card)
การ์ดเสียงแบบ Internal
ข้อดี : มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา มีพอร์ตเชื่อมต่อจำนวนมาก รองรับกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิด
ข้อเสีย : ได้รับอันตรายได้ง่าย เนื่องจากตัวของการ์ดเสียงมีลักษณะเปลือยเปล่า ขั้นตอนในการติดตั้งยุ่งยาก
การ์ดเสียงแบบ External
ข้อดี : ติดตั้งได้ง่าย มีรูปทรงสวยงาน และโดดเด่น สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกสบาย มีความทนทานค่อนข้างสูง
ข้อเสีย : มีราคาสูง ไม่ค่อยมีพอร์ตที่สนับสนุนพอร์ต Game Port หรือ พอร์ต MIDI