Color Gamut คืออะไร ? เลือกจอทำงานตัวใหม่ให้ตรงสาย

9 ส.ค. 2567

Color Gamut คืออะไร ? เลือกจอทำงานตัวใหม่ให้ตรงสาย

จะเลือกซื้อจอทำงานสีตรง สีสวยทั้งที แต่พอไปดูเทียบสเปกก็เจอแต่ตัวเลข ตัวอักษร จนงงไปหมด แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ วันนี้พวกเรา mercular จะมาบอกวิธีเลือกจอทำงานสีตรงที่เหมาะกับงานระดับมืออาชีพ กับ Color Gamut คืออะไร ? เลือกจอทำงานตัวใหม่ให้ตรงสาย ที่จะมาแกะสเปกในเรื่องขอบเขตสีที่จอมอนิเตอร์จะทำได้กัน บอกเลยว่าอ่านจบ เข้าใจ พร้อมเลือกจอทำงานตัวใหม่แน่นอนครับ

Color Gamut คืออะไร ?

สำหรับคำว่า Color Gamut จะหมายถึง ขอบเขตของสีที่อุปกรณ์อย่างจอคอมพิวเตอร์ จอทีวีหรือเครื่องปริ้นเตอร์สามารถแสดงออกมาได้ครับ โดยจะเขียนกำกับไว้ในรูปของเปอร์เซ็น เช่น 99% sRGB หรือ 99% DCI-P3 ที่หมายความว่า แสดงขอบเขตสีออกมาได้ทั้งหมด 99% จาก 100% ของขอบเขตสีที่ประเภทนั้น ๆ ครอบคลุมอยู่ ซึ่งเมื่อพูดถึงสีที่สามารถแสดงออกมาได้ เราก็ต้องมาทำความรู้จักกับพื้นที่ทั้งหมดของสี อย่าง Color Space กันก่อน 


โดย Color Space หลัก ๆ ที่เราคุ้นหน้าคุ้นสีกันจะมีอยู่ 3 แบบคือ RGB (Red, Green, Blue) ที่มักจะใช้ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และสื่อดิจิทัล เป็นประเภทที่เจอได้บ่อยที่สุดอย่างพวก sRGB, Adobe RGB, DCI-P3, หรือ NTSC เป็นต้น Color Space อีกแบบที่ใช้กันตอนนี้คือ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, Black) ที่มักจะใช้อยู่ในปริ้นเตอร์และสื่อสิ่งพิมพ์ มีความแม่นยำสูงเมื่อใช้พิมพ์ลงบนวัตถุจริง ๆ โดยเป็นการผสมสีของหมึกทั้ง 4 สีข้างต้น 


และมี Color Space เสริมที่ใช้เพิ่มเติมในงานแต่งภาพและทำกราฟิกอย่าง HSV / HSL (Hue, Satuation, Values/ Lightness) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น Hue ค่าสีสันแท้ ๆ ที่ใช้งาน / Satuation ค่าความสดของสี และ Lightness ค่าความสว่างของสี โดยจะใช้ควบคู่กับ RGB เพื่อปรับแต่งสีให้เข้ากับการรับรู้สีของมนุษย์ ออกมาเป็นสีที่ตรงตามการใช้งานที่สุด

ขอบเขต sRGB DCI-P3 AdobeRGB

ประเภทของ Color Gamut ที่ใช้กันในปัจจุบัน


ดังนั้น Color Gamut ที่เราเคยเห็นจะตั้งอยู่บน RGB เป็นหลักครับ โดยแต่ละแบบนั้นจะครอบคลุมพื้นที่สีบน RGB ได้แตกต่างกัน ตามภาพด้านบนเลยครับ โดยขอบเขตสีแต่ละแบบที่เราจะเห็นบนสเปกจอมอนิเตอร์ในปัจจุบันจะมี ดังนี้ครับ


  • sRGB (Standard RGB): ขอบเขตสีมาตรฐานที่จะเห็นบนจอมอนิเตอร์แทบทุกตัว ทั้งจอทำงานและจอเกมมิ่ง เป็น Color Gamut ที่ใช้แพร่หลายที่สุด นำไปใช้งานง่าย ถึงจะครอบคลุมพื้นที่สีน้อยที่สุดแต่สีที่ครอบคลุมนั้นก็เหมาะกับการใช้งานทั่ว ๆ ไปแล้วครับ 
  • NTSC (National Television System Committee): ขอบเขตสีที่เป็นมาตรฐานในสมัยก่อน เป็น Color Gamut ที่ใช้ในโทรทัศน์รุ่นเก่าและสื่อวิดีโอบางชนิด โดยมีขอบเขตสีที่ครอบคลุมกว้างกว่า sRGB แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยมแล้ว 
  • Adobe RGB: ขอบเขตสีจาก Adobe ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานกราฟิกและสื่อสิ่งพิมพ์ระดับสูง สามารถครอบคลุมเฉดสีได้กว้าง มีสีสันที่สด ใกล้เคียงกับความจริง โดยเฉพาะในเฉดสีเขียวและสีน้ำเงิน ทำให้จอมอนิเตอร์ที่แสดง Color Gamut นี้ได้เยอะ จะเหมาะกับการใช้งานในงานแต่งรูปภาพและงานเกรดสีครับ
  • DCI-P3 (Digital Cinema Initiatives - Protocol 3): ขอบเขตสีที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลอื่น ๆ เป็นมาตรฐานสีที่ใช้กันในโรงภาพยนตร์ มีพื้นที่สีที่ครอบคลุมได้กว้างกว่าทั้ง sRGB และ Adobe RGB สามารถแสดงสีออกมาได้สวยเกินจริง เหมาะกับการนำไว้ใช้รับชมหนัง ภาพยนตร์สวย ๆ และใช้ในการตัดต่อสื่อวิดีโอ
  • REC.2020: ขอบเขตสีที่ใช้ในอุตสาหกรรมทีวีแบบ UHDTV (Ultra High Definition TV) หรือทีวีที่มีความละเอียดสูงลิบ โดยจะครอบคลุมพื้นที่สีได้กว้างมาก ๆ ให้ตอบสนองการรับชมภาพยนตร์แบบ HDR ที่เต็มไปด้วยสีสันที่สดและความสว่างที่ลึกมีมิติ เป็น Color Gamut ที่พัฒนาต่อจาก REC.709 ที่ใช้ในทีวี HD ธรรมดาในยุคก่อนหน้าครับ
ขอบเขตสี REC.

ค่า Delta E สำคัญแค่ไหน ?


ที่นี้ถ้าเพื่อน ๆ กำลังตามหา “จอทำงานระดับมืออาชีพ” สิ่งที่ต้องมองหาอีกอย่างหนึ่งเลยคือ ค่า Delta E หรือ ∆E มาตรฐานการวัดความผิดเพี้ยนของสีที่ CIE จัดทำขึ้น ที่จะแสดงถึงความแตกต่างของสี ระหว่างสีที่จอแสดงออกมาได้กับสีที่ควรจะเป็นจริง ๆ ยิ่งมีตัวเลขน้อยเท่าไหร่ ยิ่งแสดงว่าสีที่จอแสดงได้นั้นแทบแยกความแตกต่างไม่ได้เลย โดยจากคู่มือของคุณ Zachary Schuessler ได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้ครับ

Delta E Level

≤ 1,0

ตามนุษย์นั้นแทบจะแยกความแตกต่างไม่ได้เลย

1 - 2

สามารถแยกความแตกต่างของสีได้แต่ต้องสังเกตใกล้ ๆ

2 - 10

สามารถแยกความแตกต่างของสีได้เมื่อมองผ่าน

11 - 49

สีที่แสดงออกมานั้นมีความคล้ายกับสีต้นฉบับ

100

สีที่แสดงออกมานั้นไม่เหมือนกับสีต้นฉบับเลย

Delta E ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งดี สียิ่งแม่นยำเหมาะกับการใช้ทำงาน

ขอบคุณข้อมูลจาก: Zschuessle

จอทำงาน สำหรับตัดต่อ

สรุปวิธีการเลือกจอตัวใหม่ให้ตรงการใช้งาน

สำหรับทำงานกราฟิก งานเกรดสี แต่งรูปภาพ


สำหรับดีไซน์เนอร์และช่างกล้อง ต้องการจอมอนิเตอร์ที่มีสีแม่นยำ นำไปใช้งานต่อได้ สามารถพิมพ์ออกมาโดยที่สีไม่เพี้ยน ทำให้ควรมองหาจอที่มีค่า AdobeRGB สูงมากกว่า 95% และมี Delta E < 2 เพื่อให้ชิ้นงานที่ผลิตออกมามีสีสันที่เที่ยงตรง ส่งต่อให้ลูกค้าได้ไม่โดนแก้บ่อย ๆ ครับ ยิ่งในกล้องสมัยนี้มักสามารถตั้งค่าสีฟอร์แมตให้เป็น AdobeRGB จะยิ่งช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ


จอคอมทำงานสีตรง ที่แนะนำ


สำหรับงานตัดต่อวิดีโอ งานที่เกี่ยวกับสื่อดิจิทัล


สำหรับสายตัดต่อทั่วและต้องทำงานผลิตสื่อดิจิทัลลงเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ นั้น Color Gamut ที่ได้ใช้บ่อยยังไงก็ต้องเป็น sRGB ครับ มองหาจอที่มีค่าสีเกิน 100% ไปได้เลย ขอบเขตสีมาตรฐานที่ทุกคนใช้กัน งานสวยที่จอเราและสวยที่จอเขาแน่นอน ส่วนใครที่ทำงานระดับ High ขึ้นมาก็ให้มอง DCI-P3 ควบคู่ไปด้วยครับ ใช้สำหรับตัดต่องานระดับสูง ๆ เน้นสีสันและเงาที่มีมิติ ช่วยให้จัดองค์ประกอบต่าง ๆ ในวิดีโอของเราง่ายขึ้นครับ


จอทำงานภาพสวย ที่แนะนำ



จอคอมทำงาน สีชัด สีตรง

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก BenQ

สุดท้ายแล้วการเลือกซื้อจอทำงานเฉพาะทางดี ๆ สักตัวก็จำเป็นต้องเลือกจากเป้าหมายที่เราจะนำไปใช้ก่อน เพราะแต่ละตัวแต่ละแบบนั้นจะมีสเปกเฉพาะทางที่เหมาะสมกันไปคนละแบบ ยิ่งในจอทำงานระดับ Hi-End เหล่านี้มักจะมาในราคาที่สูงมาก ๆ ถึงแม้จะมีราคาสูง แต่ฟีเจอร์ที่แถมมาให้นั้นก็กล้าบอกเลยว่าคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแน่นอนครับ ช่วยอำนวยความสะดวกได้ดีสุด ๆ บางจอแทบจะเป็น USB Hub ในตัวได้เลย ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ สนใจจะหาจอทำงานระดับมืออาชีพก็ไว้ใจ mercular ได้เลย เรามีสินค้าจากแบรนด์ดัง สเปกยอดเยี่ยมที่เหมาะกับการใช้ทำงานมากมาย มาพร้อมกับรีวิวและประกันหลังการขายที่บอกเลยว่าหายห่วง สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2