CPU คืออะไร ไปทำความรู้จักมันสมองของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น
29 พ.ค. 2565
คอมพิวเตอร์เรียกได่ว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร ประมวลผลคำนวณ หรือว่าจะเป็นด้านสร้างสรรค์สร้างผลงานเชิงศิลป์ ตัดต่อวีดีโอต่างๆก็ตาม หรือที่จะเป็นการใช้เพื่อเล่นเกม ที่เรียกได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ของคอมพิวเตอร์ก็ตาม เรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเราไปแล้ว
โดยในคอมพิวเตอร์จะมีส่วนประกอบสำคัญชิ้นหนึ่งอยู่ นั่นก็คือ CPU นั่นเองครับ หลายๆคนอาจจะรู้จักคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี หรือสำหรับหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่าเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้มันคืออะไร ในวันนี้เราจะขออาสา พาทุกคนไปไขข้อสงสัยว่า CPU คืออะไรกันแบบง่ายๆ พร้อมทั้งบอกค่าต่างๆที่สำคัญ ที่ใครต้องการจะซื้อ CPU ควรรู้ติดตัวไว้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันได้เลยครับ
หัวข้อเด่นในบทความ CPU คืออะไร
- 1. CPU คืออะไร
- 2. แนะนำค่าต่างๆ ของ CPU
- 2.1 Core และ Thread
- 2.2 Clock Speed
- 2.3 Cache
- 2.4 TDP
- 3. แนะนำการอ่านชื่อรุ่น CPU จาก 2 ค่ายดัง
CPU คืออะไร
มาถึงคำถามหลักหรือ Topic กันในวันนี้กับคำถามที่ว่า CPU คืออะไร ก่อนอื่นเราทำความเข้าใจกับทุกคนกันก่อน เราเชื่อเหลือเกินว่ายังคงมีหลายๆคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ CPU กันอยู่ ว่าคือกล่องทรงสี่เหลี่ยม ที่เป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราจะเห็นการเชื่อมต่อของหลายๆอุปกรณ์ โยงเข้ามาที่กล่องๆนี้ไม่ว่าจะเป็น จอคอมพิวเตอร์, เมาส์ หรือ คีย์บอร์ดก็ตาม เราอยากบอกว่านั่นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกซะทีเดียว โดยอุปกรณ์อย่าง CPU แท้จริงแล้วเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่อยู่ในกล่องทรงเหลี่ยมนั้น โดยที่ภายในกล่องประกอบไปด้วยหลายๆชิ้นส่วนด้วยกัน เช่น Ram, เมนบอร์ด, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และยังมีอีกหลายอย่าง ดังนั้นขอสรุปว่า CPU ไม่เท่ากับกล่องสี่เหลี่ยมๆนั่นเอง
CPU มีชื่อเต็มๆ ว่า Central Processing Unit ถ้าแปลตามชื่อก็คือหน่วยประมวลผลกลาง ถ้าถามว่า CPU คืออะไร คำตอบอย่างง่ายคือ CPU คืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล หรือชุดคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับส่งมา ถ้าจะให้ยกตัวอย่างง่ายๆ เทียบกับร่างกายของคนเราแล้วล่ะก็ CPU ก็เปรียบเหมือนกับสมอง ที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมคำสั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง, นั่ง, นอน คอมพิวเตอร์เองก็เช่นเดียวกัน แค่เปิดเครื่องขึ้นมา ซีพียูคอมพิวเตอร์ ก็เริ่มทำงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลการใช้โปรแกรมต่างๆ การกดพิมพ์งาน หรือแม้แต่การขยับเลื่อนเมาส์ไปมาเองก็ตาม เรียกได้ว่าถ้าขาด CPU ไป คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานไม่ได้นั่นเอง โดยที่ใน CPU รุ่นดีๆมีราคาสูงจะมีทั้งศักยภาพในการประมวลผลที่ดี และประมวลผลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
แนะนำค่าต่างๆ ของ CPU
หลังจากที่เราพอทราบมาแล้วว่า CPU คืออะไร อย่างต่อมาที่เราอยากจะแนะนำให้ทุกคนรู้จัก เกี่ยวกับอุปกรณ์ Hardware ชิ้นนี้ นั้นก็คือค่าต่างๆของ CPU เพื่อที่จะได้เข้าใจการทำงาน รวมถึงเวลาเลือกซื้อ CPU จะได้สามารถเลือกซื้อได้ตรงตามความต้องการ ไม่สิ้นเปลืองจนเกินเหตุ โดยจะมีค่าอะไรบ้างนั้น ไปดูกันได้เลยครับ
Core และ Thread เพราะเราคู่กัน
Core และ Thread เป็นอีกชุดคำ ที่มักจะเห็นเวลาค้นหาข้อมูล หรือต้องการเลือกซื้อ CPU และเป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยว่าทั้ง 2 อย่างนี้คืออะไร หลังจากที่เราอธิบายไปแล้ว CPU คืออะไร ซึ่ง CPU นั้นก็คือหน่วยประมวลผลข้อมูล หรือชุดคำสั่งต่าง มาถึงคำว่า Core ที่เรากำลังจะพูดถึง ซึ่งนั่นก็คือแท่งประมวลผลที่อยู่ภายใน CPU นั่นเอง โดยที่เราอาจเรียกมันว่า Physical Core ส่วน Thread ถ้าให้พูดง่ายๆ ก็คือการส่งผ่านข้อมูล หรือชุดคำสั่งต่างๆมาให้ CPU ประมวลผล
โดยที่การมีจำนวน Core และ Thread เยอะจะช่วยให้การประมวลผลทำได้ดีขึ้น การเปิดโปรแกรมทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน ไม่มีอาการหน่วง ลองนึกภาพว่าเราต้องทำการบ้านเลข 100 ข้อคนเดียว กับการทำการบ้านตัวเดียวกันด้วยตัวเรา 2 คนสิครับ ความเร็วที่ทำได้ย่อมต่างกันนั้นเอง แต่ในความเป็นจริง ก็ไม่ใช่ว่าทุกโปรแกรมจะใช้ Core จำนวนมากในการประมวลผล อย่างเช่นเกมต่างๆ ซึ่งใช้ Core จำนวนไม่มาก ในการประมวลผล ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นการเลือกใช้ CPU ที่มีจำนวน Core เยอะ ก็จะไม่ได้ช่วยให้การประมวลผลเร็วขึ้นนั่นเอง
Clock Speed
เป็นอีกหนึ่งคำ ที่เรามักจะเห็นผ่านตา เวลาที่เราหาข้อมูลดูสเปกของซีพียู กับคำว่า Clock Speed โดยที่ถ้าหากแปลตรงตัว ตามศัพท์เชิงเทคนิค ก็ได้จะได้ความหมายชวนงงว่า ความเร็วสัญญาณนาฬิกานั่นเอง ที่คงจะไม่ได้ช่วยให้เพื่อนๆคนไหน เข้าใจกับคำๆนี้ได้มากนัก เราจึงขออนุญาตสรุปคำนี้ ให้เพื่อนๆเข้าใจอย่างง่ายๆว่า Clock Speed ก็คือ ในเวลา 1 วินาที CPU จะประมวลผลหรือชุดคำสั่งได้เท่าไหร่นั่นเอง โดยที่ยิ่งมีค่าเยอะบ่งบอกได้ว่า CPU ตัวนั้นมีประสิทธิภาพมาก ประมวลผลต่างๆได้ดี
Cache กับ L1 L2 L3
ในยุคที่ความเร็วคือคำตอบของทุกอย่าง ความช้ากลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ การดึงข้อมูลก็เช่นกัน ในเมื่อเรามีคำถามที่ว่า CPU คืออะไร และเราได้ตำตอบไปแล้วว่า นี่คืออุปกรรณ์ชิ้นสำคัญ ที่ใช้การประมวลผลชุดคำสั่งต่างๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งมาจากที่ต่างๆ ชิ้นส่วนไหนที่อยู่ไกลจาก CPU การส่งผ่านข้อมูลก็จะทำได้ช้า ทำให้เกิดเทคโนยีใหม่ขึ้นมาซึ่งนั้นก็คือ Cache ขึ้นมา ซึ่ง Cache คือหน่วยเก็บข้อมูลความเร็วสูง ที่อยู่ภายใน CPU ซึ่งจะทำให้การดึงข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว
โดย Cache ได้ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ตั้งแต่ L1 ที่อยู่ใกล้ มากที่สุดไล่จนถึง L3 ที่อยู่ไกลออกมา แน่นอนคครับว่าเมื่อ L1 อยู่ใกล้ การส่งผ่านข้อมูลก็จะทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ต้องแลกมาด้วยการที่จัดเก็บข้อมูลได้น้อยลง แน่นนอนครับ เมื่อขยับไปเป็น L2 ไปจนนถึง L3 ก็จะ ส่งผ่านข้อมูลได้ช้าลง แต่ก็ได้ขนาดความจุที่เพิ่มขึ้นตามลำดับนั่นเอง
TDP อีกหนึ่งค่าที่ไม่ควรถุกมองข้าม
ในบทความนี้ได้ตอบคำถามไปแล้วว่า CPU คืออะไร เราได้บอกค่าพื้นฐานหลายๆค่าไปให้ทุกคนรู้จักกันแล้ว แต่มีอีกค่าหนึ่ง ที่ก็ไม่ควรถูกมองข้าม และให้ความสำคัญไม่แพ้กับค่าอื่น นั่นก็คือค่า TDP นั่นเอง TDP มีชื่อเต็มๆว่า Thermal Design Power อธิบายให้เข้าใจง่ายๆจะได้ว่า เป็นค่าความร้อน ที่อุปกรณ์ชิ้นนั้นปล่อยออกมา ซึ่งถ้าเราไม่จัดการกับความร้อนเหล่านี้ ก็จะเกิดความไม่เสถียรในการใช้งาน เราจึงเอาค่านี้ไปใช้ประกอบกับการเลือกระบบระบายความร้อนให้สัมพันธ์กัน รักษาระดับอุณหภูมิให้เหมาะสมอยู่ตลอด
แนะนำการอ่านชื่อรุ่น CPU จาก 2 ค่ายดัง
ในส่วนบนของบทความนี้ เราได้อธิบายไปถึง CPU คืออะไร ซึ่งในส่วนนี้ เราจะพาทุกคนไปอ่านชื่อรุ่นและทำความเข้าใจเลขรุ่นเหล่านั้นของ CPU คอมพิวเตอร์ จาก 2 ค่ายดังในตลาดอย่าง Intel และ AMD โดยที่เลขรุ่นเหล่านั้นล้วนมีความหมาย และเราค่อนข้างมั่นใจเลยว่า เลขรุ่นพวกนี้ ทำให้ทุกคนเกิดความสงสัยอย่างแน่นอน
ขอเริ่มที่แบรนด์อย่าง Intel กันก่อนเลยแล้วกัน โดยชื่อรุ่นของ CPU ที่ได้รับความนิยม และใช้กันอย่างแพร่หลายนั้นก็คือซีรีส์ Core i นั่นเอง โดยในซีรีส์นี่จะมาออกมาเป็น Intel Core i3, i5, i7, i9 โดยที่ตัวเลขหลัง i ยิ่งมากยิ่งบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพที่สูง และมีสิ่งที่ตามมานั่นก็คือราคาที่สูงขึ้นตาม ขอยกตัวอย่าง Intel Core i5-12600KF มาครับไปดูกันว่าตัวเลขแต่ละตัวหมายถึงอย่างไร
- Core i คือชื่อรุ่นหลักของ CPU ส่วนตัวเลข 5 หลังตัว i เป็นรุ่นย่อยในซีรีส์
- ตัวเลข 12 หมายถึง Generation ของตัว CPU นั่นเอง โดยเจน 12 คือเจนล่าสุด ณ ปี 2022 ของทางฝั่ง Intel
- ตัวเลข 600 หรือตัวเลขที่อยู่หลังเจนของ CPU เป็นการบอกรุ่นของ CPU ในซีรีส์นั้นๆ โดยที่ตัวเลขยิ่งมาก ก็แสดงถึงประสิทธิภาพของ CPU นั่นเอง
- ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่อยุ่ด้านหลังชื่อ เป็นการระบุถึงความพิเศษของ CPU รุ่นนั้นๆ อย่างตัวนี้ KF หมายถึง CPU ที่ไม่มีหน่วยประมวลผลกราฟฟิก และสามารถทำการ Overclock ได้นั่นเอง
มาต่อที่ค่ายแดงอย่าง AMD กันบ้าง โดยหลักแล้วจะคล้ายๆกับค่ายฟ้าอย่าง Intel โดยซีรีส์ของ CPU ทีได้รับความนิยมของนั่นก็คือซีรีส์อย่าง Ryzen โดยการแบ่งออกเป็น Ryzen 3, Ryzen 5, Ryzen 7, Ryzen 9 ส่วนการอ่านชื่อรุ่น ก็จะยังมีความคล้ายคลึงกับแบรนด์อย่าง Intel ซึ่งตัวเลขหลังคำว่า Ryzen ยิ่งมีค่ามากหมายถึงประสิทธิภาพและราคาที่สูงขึ้น โดยการอ่านชื่อจะเป็นอย่างไรนั้นไปติดตามกันได้เลย โดบรุ่นที่เราจะยกมาเป็นตัวอย่างนั่นก็คือ AMD Ryzen 5 5600X นั่นเอง
- Ryzen คือชื่อซีรีส์หลักของ CPU โดยเลข 5 เป็นตัวเลขที่บอกลำดับขั้นของตัวซีรีส์
- เลข 5 หน้าตัวเลข 600 คือเทียบได้กับเจนของฝั่ง Intel โดยที่ตัวนี้เป็น Ryzen 5000 ซีรีส์ โดยในปัจจุบัน ทางแบรนด์ได้ออก ซีรีส์ 6000มาแล้ว
- ตัวเลข 600 คือเลขที่บอกรุ่นของ CPU ตัวนั้น โดยเลขยิ่งมากก็หมายถึงประสิทธิภาพที่มากตามนั่นเอง
- ตัวอักษรที่อยู่ข้างหลังสุด อย่างในตัวอย่างคือ X หมายถึง CPU ที่มีเทคโนโลยี XFR ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ CPU ให้สูงขึ้นนั้นเอง
ก็จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับบทความที่ตอบคำถามว่า CPU คืออะไร ซึ่งสรุปแล้วอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ ตัวประมวลผล ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์นั่นเอง ก็เหมือนกับสมองของคนเราที่คอยคิด และสั่งการการทำงานต่างๆของร่างกาย สำหรับ CPU คอมพิวเตอร์นั้นยิ่งมีประสิทธิภาพสูง ประมวลได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเลยนั้นก็คืออุณหภูมิที่จะเพิ่มขึ้นตาม และยิ่งเป็นของที่มีคุณภาพดี ราคาที่แพงก็ถือว่าเป็นเงาตามตัวนั่นเอง โดยการเลือกซื้อควรซื้อตามความเหมาะสม และควรศึกษาหาข้อมูลเปรียบเทียบ CPU มาประกอบการตัดสินใจ ซึ่งถ้าเพื่อนๆคนไหนที่กำลังมองหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอ, คีย์บอร์ด หรือเมาส์ ก็สามารถเข้ามาเลือกชมได้ที่ Mercular รับรองเลยว่าจะไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง