ทำเพลง101: ลำโพงมอนิเตอร์ คืออะไร? เปิดโลกเสียงระดับมือโปร
3 ม.ค. 2566
ลำโพงมอนิเตอร์คืออะไร?
หากนึกถึงการทำเพลงหรือการมิกซ์เพลงแล้วสิ่งหนึ่งที่จะต้องนึกถึงก็คือลำโพงมอนิเตอร์ใช่ไหมครับ แล้วเพื่อน ๆ เคยสงสัยไหมครับว่าลำโพงมอนิเตอร์ที่นักดนตรี, Producer, หรือ Sound Engineer ใช้กันเนี่ยแตกต่างจากลำโพงที่เราใช้ฟังเพลงหรือดูหนังกันยังไง
หากเราพูดถึงลำโพง Home Theater ที่ใช้เวลาดูหนังแล้วเพื่อนๆคงนึกถึงความกระหึ่มของเสียง ที่ตอบสนองต่อเสียง Effect ต่าง ๆ ในหนังเช่น เสียงปืน เสียงระเบิด ฟังแล้วสะใจ เพิ่มความสนุกในการดูหนังได้เป็นอย่างดี หรือถ้าหากพูดถึงลำโพงฟังเพลง คนส่วนใหญ่ก็คงจะชอบลำโพงที่ให้รายละเอียดเยอะมีเสียงใส เน้นเสียงเบสนิดเสียงสูงหน่อยฟังแล้วคงสนุกสุด ๆ
แต่สำหรับลำโพงมอนิเตอร์นั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ได้เสียงที่ฟังแล้วรู้สึกว่าเพราะหู ฟังสนุก หรือให้เสียงที่กระหึ่มสะใจ แต่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานของสตูดิโออัดเสียง การสร้างหนัง จัดรายการวิทยุ หรือแม้แต่โฮมสตูดิโอ ซึ่งต้องการลำโพงที่ตอบสนองต่อเสียงในย่านต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยลำโพงชนิดนี้จะมีลักษณะของเสียงที่มีความเป็นกลางสูง ตัวลำโพงจะต้องให้เสียงที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งมาแม้แต่น้อย เนื่องจากในการทำงาน Audio Production นั้น ผู้ทำงานนั้นต้องการที่จะได้ยินเสียงจริง ๆ โดยที่ไม่ผ่านการปรับแต่ง ตัวอย่างเช่น ถ้า Sound Engineer กำลัง Mix เพลง ๆ นึงในลำโพงที่มีการเร่ง (Boost) เสียงเบส Sound Engineer อาจจะฟังว่าเสียงเบสดังพอแล้ว แต่พอปล่อยเพลงออกไป คนที่ใช้ลำโพงที่ไม่ได้มีเสียงเบสหนัก ๆ ก็อาจจะไม่ได้ยินเสียงเบสได้ ดังนั้นเวลาทำงานจึงต้องใช้ลำโพงสตูดิโอที่มีเสียงเป็นกลางมาก ๆ นั่นเอง
ลักษณะลำโพงมอนิเตอร์
หากคนที่เล่นเครื่องเสียง hi-fi เลือกซื้อลำโพงก็คงจะเลือกแบบ passive ซึ่งเป็นลำโพงที่ต้องต่อแอมป์เข้าไปขยายสัญญาณเสียง แต่สำหรับลำโพงมอนิเตอร์แล้วส่วนใหญ่จะเป็นแบบ active ซึ่งสามารถเพราะการเชื่อมต่อแอมป์แต่ละตัวนั้นจะให้คาเร็คเตอร์เสียงที่ต่างกันดังนั้นเพื่อเลี่ยงในด้านนั้นลำโพงมอนิเตอร์ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบ active ลักษณะอีกอย่างของลำโพงมอนิเตอร์คือจะเป็นลำโพงแบบ nearfield เป็นลำโพงที่สามารถฟังระยะใกล้ได้โดยที่มีระดับความดังหรือเวทีเสียงที่ไม่ผิดเพี้ยน สุดท้ายลักษณะเสียงต้องมีความเป็นกลางสูง ถึงแม้ว่าลำโพงมอนิเตอร์จะมีลักษณะเสียงที่เป็นแบบกลางก็ตาม แต่หลาย ๆ ครั้งจะพบว่าลำโพง Monitor หลาย ๆ ตัวกลับให้เสียงไม่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่จะมีคาแรคเตอร์ตามแต่ที่ผู้ผลิตจะออกแบบไว้ และในบางครั้งตัวลำโพง Monitor เองก็มักจะมีการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานเฉพาะส่วน เช่น ลำโพง Monitor สำหรับ stage , ลำโพง Monitor สำหรับ DJ , ลำโพง Monitor สำหรับงาน Broadcast และลำโพง Monitor สำหรับงาน Mix ซึ่งลำโพงแบบนี้มักจะมีการจูนย่านเสียงบางย่านเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ดังนั้นบางครั้งการเลือกลำโพง Monitor จึงต้องดูความเหมาะสมด้วยว่าเป็นลำโพงที่ออกแบบมาเพื่อลักษณะงานแบบใด
การเลือกซื้อลำโพงมอนิเตอร์
การเลือกซื้อลำโพงมอนิเตอร์นั้นสิ่งที่ต้องคำนึงมีอยู่ 4 อย่างหลัก ๆ คือ
- งบประมาณ แน่นอนว่าเงินในกระเป๋าของคุณนั้นเป็นปัญจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกซื้อโดยลำโพงมอนิเตอร์นั้นก็มีให้เลือกหลากหลายราคาโดยมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนหรือหลักล้าน
- ขนาดของห้อง ขนาดของห้องนั้นจะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะซื้อลำโพงขนาดใหญ่แค่ไหน เนื่องจากหากซื้อลำโพงที่มีขนาดไม่ตรงกับขนาดห้องแล้ว เสียงก็อาจจะดังหรือเบาจนเกิน ซึ่งถ้าเบาเสียงหรือเร่งเสียงลำโพงจนเกินไปก็อาจจะทำให้ลำโพงทำงานได้ไม่เต็มที่ได้
- ชื่อเสียงของแบรนด์ลำโพง ชื่อเสียงของแบรนด์นั้นบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ใช้ของแบรนด์ดังก็แพงโดยใช่เหตุ แต่ในความเป็นจริงแล้วชื่อเสียงของแบรนด์นั้นมาจากการที่สินค้าของแบรนด์นั้น มีคุณภาพที่ดีจริงๆ จนได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ในวงกว้าง ซึ่งในแง่ของการพัฒนาลำโพงและเครื่องเสียงระดับมืออาชีพนั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างยาวนานและเทคโนโลยีที่ใช้เวลาในการพัฒนา
- ความชื่นชอบส่วนตัว ในข้อนี้ถือว่าเป็นรสนิยมส่วนตัวของผู้ซื้อเลยครับว่าชื่อชอบแบรนไหนเป็นพิเศษเพราะแต่ละแบรนด์ก็มีคาเร็ตเตอร์เสียงที่แตกต่างกันไปดังนั้นแต่ละคนจึงมีความชื่นชอบที่ไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างลำโพงมอนิเตอร์ที่น่าสนใจ
KRK Rokit 5 G4
หนึ่งในลำโพงมอนิเตอร์สีเหลืองสุดฮิตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและขายดีอย่างมากในหมู่ของผู้เริ่มต้นทำเพลงเนื่องจากมีราคาที่ไม่แพงมากนัก แต่ให้เสียงที่มีลายละเอียดที่ดีเหมาะสำหรับใช้ในการทำเพลงอย่างมาก ซึ่งแม้แต่ศิลปินชื่อดังอย่าง Charlie Puth ก็ยังใช้ลำโพงคู่นี้!
Yamaha HS8
พัฒนามาจาก Yamaha NS-10’s ในช่วงปี 1970 ลำโพง Yamaha HS8 ผสมระหว่างเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเสียงอันเป็นคลาสสิคเข้าไว้ด้วยกัน โดยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในลำโพงมาตรฐานที่ใช้กันในห้องอัดมาอย่างยาวนาน โดยมีฟังก์ชั่นเด่นคือ ระบบ Mounting ที่ช่วยลดการสั่นสะเทือนของตัวลำโพงและให้เสียงได้ดียิ่งขึ้น ใช้ส่วนประกอบแม่เหล็กที่ใหญ่กว่าปกติช่วยให้ตอบสนองต่อย่านเสียงได้กว้างขึ้น
Adam Audio A7X
ลำโพงมอนิเตอร์สัญชาติเยอรมันที่มีราคาค่าตัวค่อนข้างสูง โดยมีอยู่ 3 รุ่นหลักๆคือ รุ่น high-end SF series รุ่นเริ่มต้น F series และรุ่นกลาง AX series ซึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คือรุ่น A7X จาก AX series
Genelec 8010A
ลำโพงสตูดิโอที่จิ๋วแต่แจ๋วโดยแบรน genelec ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ระดับ high-end ของลำโพงมอนิเตอร์ โดยรุ่นที่มีชื่อเสียงก็คือรุ่น SAM series กับ The Ones series ที่มีราคาที่แพงมากๆ แต่ไม่ใช่กับรุ่น Active 2-Ways Monitors ซึ่งมีราคาที่เข้าถึงง่ายและขนาดที่กระทัดรัด แต่ยังคงคุณภาพเสียงของรุ่นเดิมอยู่
Event 20/20 BAS
ลำโพงเก่าเก็บที่ตอนนี้อาจจะหาซื้อได้ลำบากแล้ว เป็นลำโพงที่นำเอาโมเดลเก่าในชื่อเดิมอย่าง Event 20/20 BAS ในปี 1995 กลับมาทำใหม่ โดยพัฒนาในด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากเทียบกับรุ่นเก่าในปี 1995 แล้วนั้น โมเดลใหม่จะมาพร้อมกับกำลังเสียงที่มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า และมี THD (Total Harmonic Distortion) หรือค่าความผิดเพี้ยนของเสียงที่ลงไปถึงครึ่งนีงเลยทีเดียว โดยมีฟังก์ชั่นเด่นคือ front bass port ที่ให้เสียงที่เหมาะสำหรับห้องเล็กๆหรือ home studio และให้กำลังเสียงถึง 250 W โดยลำโพง 20/20 BAS คู่แรกนั้นใช้โดย Francis Buckley สำหรับการ Mix อัลบั้ม Quincy Johns’ Q’s Jook Joint ซึ่งได้รางวัล Grammy Award สาขา Best Engineered Album ในปี 1996