SSD คืออะไร มีกี่แบบ ทําหน้าที่อะไร แล้วดีกว่าฮาร์ดดิสก์จริงมั้ย
4 พ.ย. 2565
ถ้าพูดถึงภาพจำของชิ้นส่วนของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น หลายๆ คนก็น่าจะนึกถึงฮาร์ดดิสก์ HDD กัน ซึ่งในปัจจุบันนั้นนอกจากฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ที่คงอยู่มาอย่างยาวนาน ก็ยังมีอีกหนึ่งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์อีกประเภทนึงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน แถมยังกลายเป็นหนึ่งในมาตรฐาน Standard ของวงการอีกด้วย นั่นก็คือ ฮาร์ดดิสก์ SSD แต่น้อยคนจะรู้ว่า SSD คืออะไร เป็นยังไง ทำงานแบบไหน และดีกว่า HDD อย่างไร และวันนี้เอง Mercular จะพาทุกคนไปรู้กันว่า SSD คืออะไร แล้วทำใมใครๆ ถึงใช้ SSD ในคอมกัน ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูพร้อมๆ กันเลย
SSD คืออะไร
SSD คืออะไร SSD หรือในชื่อเต็มว่า Solid State Drive เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากฮาร์ดดิสก์ โดยเปลี่ยนจากการใช้จานหมุนในการอ่าน-เขียนข้อมูลแบบเดิม มาเป็นการใช้งานชิปคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Flash Memory ในการบันทึกข้อมูลต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์แทน ซึ่งการเปลี่ยนไปใช้ Flash Memory ในการเก็บข้อมูลนั้นก็ทำให้ SSD สามารถทำงานอ่านเขียนข้อมูลได้ไวกว่า HDD แถมด้วยขนาดที่เล็กกว่า ทำให้ SSD คอมพิวเตอร์ นั้นได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
ประวัติของ SSD
สำหรับจุดเริ่มต้นของ SSD คืออะไรนั้น ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1978 โดยบริษัท StorageTeK ได้พัฒนาเจ้า SSD ตัวต้นแบบชิ้นแรกของโลกขึ้น โดยเจ้า SSD ตัวแรกของโลกนั้นก็ไม่ได้ใช้ชิป Flash Memory แต่เป็นการนำแรม (RAM) มาดัดแปลงให้เป็นหน่วยความจำหลักแทน ก่อนที่ในช่วงปี 1980 Toshiba จะเริ่มนำเอา Flash Memory มาใส่ใน SSD และวางจำหน่ายในช่วงปลายปีเป็นเจ้าแรก และถึงแม้ว่า SSD ในยุคนั้นจะเร็วกว่า HDD ในตลาดหลายเท่าตัว แต่ด้วยความจุที่น้อยนิดในหลักไม่กี่สิบ mb กับราคาที่แพงหูฉีก ทำให้ไม่สามารถตีตลาดฮาร์ดดิสก์ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพราะ Flash Memory ที่ใช้ในตอนนั้นมีหน่วยความจำเป็นแบบ NOR Flash ที่ความจุต่ำและ ราคาแพง ก่อนที่ต่อมาในปี 1995 บริษัท M-Systems ก็ได้เปิดตัว SDD ที่ใช้หน่วยความจำ NAND Flash ที่มีความจุสูงกว่า และราคาถูกกว่า และทำให้ SSD ส่วนใหญ่นั้นใช้หน่วยความจำ NAND Flash เป็นหลัก แต่กว่า SSD จะกว่าเป็นที่นิยมนั้นก็ก็ต้องรอนานกว่า 20 ปี กว่า SSD จะมีเทคโนโลยี ความจุ และราคาที่สามารถใช้งานได้จริง
SSD ดียังไง
ถ้าจะถามว่าข้อดีของ SSD คืออะไร ด้วยความที่ SSD นั้นใช้หน่วยความจำ Flash Memory ในการจัดเก็บข้อมูลผ่านการเก็บประจุไฟฟ้าภายในเซลล์ ทำให้การอ่านเขียนไฟล์ของ SSD นั้นทำได้เร็วกว่า HDD ที่ต้องรอให้แผ่นจานหมุนและความเร็วที่จำกัดกว่า ทำให้ SSD เหมาะสำหรับการเก็บไฟล์ที่ต้องการดึงส่งข้อมูลแบบเร็วๆ อย่างเช่นระบบ OS, โปรแกรม และเกมต่างๆ และนอกจากความความเร็วที่สูงกว่าแล้ว SSD ยังไม่มีชิ้นส่วนที่ขยับเขยื่อนได้ ทำให้ SSD นั้นทนต่อการกระแทกได้มากกว่า HDD นอกจากนี้ SSD ยังมีขนาดที่เล็กกว่า ทำให้ SSD นั้นประหยัดพื้นที่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ตอีกด้วย
ข้อเสียของ SSD
แต่ถ้าจะถามว่า ข้อเสียของ SSD คืออะไร ถึงแม้ว่าราคาของ SSD จะไม่ได้สูงเท่ากับสมัยก่อนๆ แต่เมื่อเทียบกับความจุที่ได้นั้น SSD ก็ยังถือว่าแพงกว่า HDD อยูเกีอบเท่าตัว ทำให้ SSD นั้นอาจจะไม่ได้เหมาะกับคนที่งบน้อยซักเท่าไหร่ และอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของอายุการใช้งาน เนื่องจาก SSD นั้นจะใช้การเก็บข้อมูลประจุไฟฟ้าภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานบ่อยๆ ขึ้น ตัวเซลล์ภายใน Flash Memory ก็จะเริ่มเสื่อมสภาพ และทำให้ SSD ของเราพังลงไป ในขณะที่ HDD จะมีอายุการใช้งานนานกว่าหลายเท่าตัว ทัวให้การใช้งาน SSD เพื่อเก็บรักษาข้อมูลต่างๆ ก็อาจจะไม่ตอบโจทย์เอาได้
SSD มีกี่ประเภท
ส่วนประเภทของ SSD คืออะไรบ้างนั้น SSD จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลักๆ โดยจะแบ่งตามพอร์ตการเชื่อมต่อและรูปร่างหน้าต่างดังนี้
SATA SSD
SATA SSD คืออะไร SATA SSD คือ SSD ที่ออกแบบมาให้ใช้งานกับพอร์ต SATA โดยรูปร่างภายนอกของ SSD ชนิดนี้ก็จะเป็นก่อนขนาด 2.5 - 3.5 นิ้วเหมือนกับ HDD เพราะ SSD ประเภทนี้ออกแบบมาให้ใส่ในช่องเดียวกับฮาร์ดดิสก์ โดย SATA SSD จะมีความเร็วในการอ่านเขียนอยู่ที่ประมาณ 600 Mbps โดย SSD ประเภทนี้ถือว่าเป็น SSD ที่มีความเร็วช้าที่สุดในตลาดเลย
PCIe SSD
PCIe SSD คืออะไร สำหรับ SSD ประเภทจะใช้การเชื่อมต่อผ่านพอร์ต PCIe หรือที่เราเข้าใจกันง่ายๆ ว่าเป็นพอร์ตที่เสียบการ์ดจอ ซึ่ง PCIe SSD ส่วนใหญ่นั้นถือว่าที่มีขนาดใหญ่มากพอๆ กับการ์จอรุ่นเล็กๆ เลย ทำให้ PCIe SSD นั้นไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าไหร่
M.2 SSD
M.2 SSD คืออะไร SSD ประเภทนี้ถือว่าเป็น SSD ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่ง M.2 SSD นั้นก็จะติดตั้งกับพอร์ต M.2 แล้วใช้น็อตยึดติดกับคีย์บอร์ดเอาไว้ ด้วยขนาดที่เล็ก แถมยังยึดติดกับบอร์ด ทำให้ M.2 SSD นั้นประหยัดพื้นที่ภายในเครื่องได้มากกว่า SSD ประเภทอื่นๆ และ M.2 SSD เองยังมีความเร็วที่สูงถึงประมาณ 3,500 Mbps เลยทีเดียว โดย M.2 SSD ยังสามารถแบ่งย่อยประเภทได้อีก 2 ประเภท นั่นคือ M.2 SSD ที่ใช้อินเตอร์เฟสการส่งข้อมูลแบบ SATA และ M.2 SSD ใช้อินเตอร์เฟสการส่งข้อมูลแบบ NVMe ที่จะรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ SATA
และทั้งหมดนี้เอง ก็น่าจะทำให้ทุกคนกระจ่างแล้วว่า SSD คืออะไร ทำงานยังไง มีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง แล้วมีกี่ประเภทให้เลือก บอกเลยว่าต่อจากนี้ไป การเลือกซื้อ เลือกใช้งาน SSD ของเราจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาอย่างแน่นอน เลือกซื้อ SSD ราคาถูก และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ซีพียู การ์ดจอ คอมพิวเตอร์เช็ต และอุปกรณ์ไอทีต่างๆ อยู่ละก็ สามารถเข้ามาเลือกชมเลือกซื้อได้ที่ Mercular ได้เลย ส่วนบทความนี้ก็จบลงแล้ว บทความหน้าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง เตรียมรออ่านกันได้เลย