
หูฟังมอนิเตอร์
-
สินค้าทั้งหมดใน
(10 รายการ)
สำหรับ หูฟังมอนิเตอร์ หลัก ๆ แล้วก็คือหูฟังที่ถูกใช้อยู่ใน Studio สำหรับงานมิกซ์เสียงหรือใช้ในงานคอนเสิร์ตเป็นหลัก ทั้งคอนเสิร์ตกลางแจ้งและคอนเสิร์ตใน Hall โดยหลักการทำงานหรือหลักการใช้งานนั้นจะแตกต่างจาก หูฟังสำหรับฟังเพลงปกติเล็กน้อย ด้วยแนวเสียงโทน Flat ที่เป็นเอกลักษณ์ของ หูฟังมอนิเตอร์ ซึ่งถูกใช้เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของเสียงว่ามีเสียงย่านไหนที่โดดเด่นจนเกินไปหรือไม่ เนื่องจากปกติหูฟังที่ถูกใช้สำหรับฟังเพลงทั่ว ๆ ไป จะถูกปรับจูนแนวเสียงบางย่านให้มีมากกว่าปกติ เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถฟังเพลงได้อย่างสนุกและให้ความรู้สึกว่าเสียงที่ได้นั้นมีความไพเราะมากกว่าปกติ รวมถึงเป็นคาแรคเตอร์แนวเสียงของแบรนด์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้ฟังแต่ละคนนั้นก็จะมีความชอบย่านเสียงที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางคนชอบย่านกลาง บางคนชอบเสียงแหลม และบางคนชอบเบสหนัก ๆ เป็นต้น ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ออกสินค้าที่มีแนวเสียงที่แตกต่างกันออกมา นั่นจึงทำให้หูฟังทั่ว ๆ ไปไม่ควรนำมาใช้งานในการมิกซ์เสียงหรือใช้งานใน Studio เนื่องจากแนวเสียงที่ได้จะไม่ตรงกับความเป็นจริงนั่นเอง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ หูฟังมอนิเตอร์
หากจะสรุปว่า หูฟังมอนิเตอร์ นั้นเหมาะกับใคร ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจอีกครั้งว่า สิ่งที่ค่อนข้างเด่นชัดมากในเรื่องของความแตกต่างระหว่าง หูฟังมอนิเตอร์ และ หูฟังทั่วไป คือคาแรคเตอร์เสียง โดย หูฟังมอนิเตอร์ จะเก็บรายละเอียดเสียงได้ดีกว่า ทำให้ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับฟังเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ รวมถึงแนวเสียงจะไปในแนวทาง Flat ไม่ถูกปรับแต่ง ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้สามารถฟังเสียงในย่านที่ฟังยาก หรือไม่สามารถฟังได้ในหูฟังทั่ว ๆ ไปได้ ทำให้ หูฟังมอนิเตอร์ เหมาะกับนักร้อง นักดนตรี และนักทำเพลงหรือผู้ที่ทำงานใน Studio แล ะหูฟังมอนิเตอร์ จะไม่เหมาะกับการใช้งานฟังเพลงแบบ Lifestyle ที่เน้นเสียงที่ฟังแล้วสนุกให้เสียงที่จัดจ้านในย่านใดย่านหนึ่งเป็นหลัก แต่สำหรับผู้ฟังที่ชอบแนวเสียงแบบ Flat ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่งก็ใช้งานฟังเพลงทั่ว ๆ ไปได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่เหมาะกับนักร้อง นักดนตรี และคนทำเพลงเป็นหลักนั้นเพราะว่าการใช้งานหูฟังมอนิเตอร์หลัก ๆ จะอยู่ที่การตรวจสอบความผิดเพี้ยนของเสียงทั้งการใช้งานในสตูดิโอและกลางแจ้ง ซึ่งคนที่ฟังเพลงส่วนใหญ่จะชินกับหูฟังทั่วไปที่ถูกปรับแต่งมาแล้ว ดังนั้นการหันมาฟัง หูฟังมอนิเตอร์ อาจจะทำให้ไม่รู้สึกสนุก หรือเสียงเพลงที่เคยฟังอาจจะไม่ไพเราะเท่าที่เคย
สามารถใส่ หูฟังมอนิเตอร์ ฟังเพลงในชีวิตประจำวันได้หรือไม่
สำหรับคำถามที่ว่าสามารถใส่ หูฟังมอนิเตอร์ ฟังเพลงในชีวิตประจำวันได้หรือไม่ ถ้าให้ตอบกันตรง ๆ เลยก็ต้องตอบว่าสามารถทำได้ เพราะมีผู้ใช้งานรวมถึงผู้ฟังหลายท่านที่ชอบฟังเพลงที่เน้นรายละเอียดและชื่นชอบการฟังเพลงที่ให้แนวเสียงตรงตามต้นฉบับ ดังนั้นหากได้ หูฟังมอนิเตอร์ มาฟังก็ไม่แปลกใจที่จะชอบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานแล้วว่าจะเลือกใช้หูฟังทั่วไปหรือลองหันมาใช้ หูฟังมอนิเตอร์ ที่อาจจะฟังดูเหมือนเป็นการเริ่มต้นและได้ลองอะไรใหม่ๆ แต่ต้องบอกเลยว่าถ้ามีโอกาสได้ลองฟังแล้วรับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวังและอาจจะติดใจโดยไม่รู้ตัวก็ว่าได้ ดังนั้นแล้วก่อนจะหันมาใช้ หูฟังมอนิเตอร์ จึงควรศึกษารายละเอียดเชิงลึกให้ดี ทั้งในส่วนของงานประกอบ และวัสดุ รวมไปถึงไดรเวอร์ที่นำมาใช้ เพราะแต่ละองค์ประกอบเหล่านั้น จะทำให้ลักษณะของเสียงที่ได้แตกต่างกันออกไป แม้จะเป็นภาพรวมเสียงแบบ Flat แต่ยิ่งไดรเวอร์คุณภาพดี วงจรภายในคุณภาพดี ก็ยิ่งทำให้เสียงที่ได้มาพร้อมรายละเอียดที่มากขึ้น รวมถึงทำให้หูฟังสามารถฟ้องย่านเสียงที่ผิดเพี้ยน หรือปรับจูนมามากเกินไปได้อีกด้วย

วิธีเลือกซื้อ หูฟังมอนิเตอร์
เลือกซื้อจากประเภท หูฟังมอนิเตอร์หูฟังมอนิเตอร์ สามารถแบ่งประเภทออกได้เช่นเดียวกับ หูฟังทั่ว ๆ ไปโดยแบ่งตามการสวมใส่เป็นหลัก เพราะตัว หูฟังมอนิเตอร์ นั้นจะมีหลักการทำงานที่เหมือนกันคือให้แนวเสียงแบบ Flat ที่มีความเที่ยงตรงสูง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานมอนิเตอร์เสียงเป็นหลัก โดยสามารถแบ่งหลัก ๆ ออกได้เป็น 3 ประเภทการสวมดังนี้
-
In Ear Monitor : หรือก็คือหูฟังมอนิเตอร์ที่ใช้การสวมใส่แบบสอดหู In-Ear โดยจะสวมใส่แบบหูฟัง In-Ear ทั่ว ๆ ไป และมักจะถูกออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ ที่ทำให้สวมใส่ได้ง่าย สบาย และกระชับหู โดยส่วนมากจะเป็นการสวมใส่แบบคว่ำและพาดสายไปด้านหลังหู ซึ่งมีข้อดีตรงที่นอกจากจะสวมใส่ได้กระชับ และแน่นหูแล้วยังช่วยยึดหูฟังให้ไม่เคลื่อนหลุดจากใบหู แม้จะขยับหรือเคลื่อนไหวไปมาได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่ หูฟังมอนิเตอร์แบบ In Ear จะได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้งานประเภทนักร้อง นักดนตรีที่ต้องขึ้นแสดงบนเวที ซึ่งจำเป็นต้องฟังเสียงของตนเองประกอบการแสดงไปด้วย และโดยปกติจะไม่สามารถได้ยินเสียงของตนเองทั้งหมดจากหน้าเวทีนั่นเอง โดยจุดเด่นคือขนาดที่ไม่ใหญ่มาก จึงทำให้ไม่โดดเด่น เกิดความรำคาญ หรือทำให้รู้สึกเกะกะ ระคายหู
-
Custom In Ear Monitor : เป็น หูฟังมอนิเตอร์ สวมใส่แบบสอดหูแบบเดียวกับหูฟัง In Ear โดยจุดที่โดดเด่นกว่าคือหูฟังประเภทนี้จะถูกหล่อขึ้นมาตามช่องหูของผู้ใช้ หรือก็คือสั่งทำเป็นพิเศษนั่นเอง ตัวหูฟังจะมีรูปร่างแบบเดียวกับช่องหูของเจ้าของหูฟัง ทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถนำไปสวมใส่ได้ หรืออาจจะใส่ได้แต่ไม่สบายหู ตัวหูฟังมอนิเตอร์เมื่อหล่อขึ้นรูปแล้วสามารถเลือกใส่ไดรเวอร์ภายในได้ตามต้องการว่าต้องการไดรเวอร์กี่ตัว ใส่บริเวณไหน รวมถึงตกแต่งให้สวยงามเป็นเอกลักษณ์ตามแต่ที่ผู้สวมใสชอบได้อย่างอิสระ โดยจุดเด่นคือหูฟังมอนิเตอร์ประเภทนี้จะสวมใส่ได้สบายหูมาก ๆ และมักจะได้รับความนิยมในนักร้องนักดนตรีมืออาชีพ เนื่องจากหูฟังประเภทนี้จะมีราคาที่สูงมาก รวมถึงมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ดุจดั่งเครื่องประดับอีกชิ้นหนึ่งก็ว่าได้
-
Headphone Monitor : หูฟังมอนิเตอร์สวมใส่แบบคาดศีรษะ โดยจะสวมใส่แบบเดียวกับหูฟัง Headphone ทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น หูฟังมอนิเตอร์ Over Ear และ หูฟังมอนิเตอร์ On Ear โดยการใช้งานก็เป็นแบบเดียวกับ In Ear Monitor ในการใช้งานเพื่อตรวจเช็คความแม่นยำของเสียง พร้อมแนวเสียงแบบ Flat ที่ไม่โดดเด่นไปทางย่านใดย่านหนึ่ง หรือจะเรียกว่าเป็นหูฟังขี้ฟ้องก็ว่าได้ และด้วยการสวมใส่ที่ต้องครอบไปทั้งหูรวมถึงขนาดที่มีขนาดใหญ่ ทำให้หูฟังมอนิเตอร์ประเภทนี้เหมาะกับการใช้งานใน Studio มากกว่าจะใส่ขึ้นไปบนเวที แต่ก็สามารถใส่บนเวทีหรือในงานแสดงต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน ด้านข้อดีของหูฟังมอนิเตอร์ประเภทนี้คือด้วยขนาดที่ใหญ่ ทำให้ใส่ไดรเวอร์ที่มีขนาดใหญ่ได้ และจะให้เสียงที่ดังครบถ้วนทุกรายละเอียดรวมถึงมีความแม่นยำสูง จึ่งทำให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับมิกซ์เสียงนั่นเอง

เลือกซื้อจากราคา
เป็นอีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเลยเพราะ หูฟังมอนิเตอร์ ก็เหมือนกับสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่ราคานั้นก็สามารถเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี โดยจะมีตัวเลือกให้ได้เลือกสรรมากมายตั้งแต่ราคาหลักร้อยไปจนถึงราคาหลักแสนเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละช่วงราคาก็จะมีคุณภาพของเสียงที่ไต่ระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงควรเลือกราคาที่สอดคล้องกับการใช้งาน ประเภทของ หูฟังมอนิเตอร์ ที่ต้องการและงบที่มีในกระเป๋า
เลือกซื้อจากแบรนด์
การได้เลือกซื้อ หูฟังมอนิเตอร์ จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแบรนด์ที่ไม่มีได้มีชื่อเสียงเท่าพวกแบรนด์ชื่อดังในวงการเครื่องเสียงอย่าง Sennheiser, Audio-Technica, Bose, Sony หรือ FiiO ออกมาวางจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าเกือบครึ่งแต่ก็อยากให้ระวังกันไว้ก่อนที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่เกิดใหม่เหล่านั้นโดยไม่รู้เบื้องลึกเบื้องหลัง ควรศึกษาสินค้าให้ดีและหารีวิวจากเว็บไซต์ mercular.com หูฟังที่ถูกและดีอาจจะมีอยู่จริงแต่ก็มีเหตุผลว่าทำไมแบรนด์ใหญ่ ๆ เหล่านี้ยังได้รับความไว้วางใจจากเหล่าคนรักเสียงเพลงมาถึงปัจจุบัน

ข้อดี - ข้อเสีย
ข้อดี- ให้เสียง Flat ที่มีความเที่ยงตรงสูง
- ไม่ต้องชาร์จแบตเตอรี่
- คุณภาพเสียงดีอยู่ในระดับที่ใช้ใน Studio
- มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มคุณภาพเสียง เช่น DAC/AMP
- มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว
ข้อเสีย
- เสียง Flat ที่เที่ยงตรงอาจจะไม่ตอบโจทย์ย่านใดเป็นพิเศษ
- รุ่นที่มีสายอาจจะเกะกะหรือพันกันได้ง่าย
- ลูกเล่นภายในตัวหูฟังมอนิเตอร์มีน้อย
เป็นยังไงกันบ้างครับกับ หูฟังมอนิเตอร์ ที่เรานำมาแนะนำในครั้งนี้ ใครที่คิดว่า หูฟังมอนิเตอร์ ไม่เหมาะกับการใช้งานฟังเพลงทั่ว ๆ ไป และเหมาะกับใช้ในการมิกซ์เสียงหรือใช้งานใน Studio เพียงอย่างเดียว ก็ต้องบอกไว้ตรงนี้เลยว่าอาจจะไม่เป็นแบบนั้นเสมอไปเพราะเสียงที่เที่ยงตรงก็มีสเน่ห์และเอกลักษณ์ที่มีผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบในแนวเสียงเช่นนี้ และถึงแม้ว่าจะต้องใช้ตัวแปลงเพิ่มเพื่อเชื่อมต่อกับ Smartphone แต่อุปกรณ์เล่นเสียงอื่น ๆ นั้นยังคงรองรับการเชื่อมต่อทั่ว ๆ ไปของหูฟัง Monitor อยู่ไม่เพียงแค่อุปกรณ์ใน Studio เท่านั้น ถ้าหากคุณกำลังสนใจข้อมูลเพิ่มเติมของ หูฟังมอนิเตอร์ ที่แนะนำมาตัวไหนก็สามารถกดเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางลิงค์ของรุ่นนั้น ๆ หรือจะเข้ามาเลือกชมเพิ่มเติมได้ทาง Mercular ก็ได้เช่นกัน