ไมค์คอนเดนเซอร์ usb ไมค์คุณภาพเสียงดี ใช้งานง่าย ราคาถูก มีอยู่จริงหรอ
ได้รับสินค้าภายในวันนี้ ไม่เกิน 22:00 น. เมื่อสั่งซื้อและชำระเงินไม่เกิน 15:00 น.
รับประกันโดยศูนย์ไทยระยะเวลา 1 ปี
เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
แชทคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกสินค้าที่ใช่สำหรับคุณ
สรุป ไมโครโฟน AKG LYRA USB Microphone เหมาะกับใคร ?
AKG Lyra จัดว่าเป็นไมโครโฟน USB Condenser ที่มีสเปคคุ้มราคาที่สุดในตลาดตอนนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเจ้าไมโครโฟน AKG Lyra ราคา 6,500 บาท ตัวนี้นั้นมาพร้อมกับไดอะแฟรมรับเสียงถึง 4 ตัวและรองรับคุณภาพการบันทุกสูงสุดในระดับ Hi-res และการันตีคุณภาพเสียงด้วยชื่อแบรนด์ที่ถือว่าอยู่ในอันดับต้น ๆ ของวงการไมโครโฟน โดยฟังก์ชั่นการทำงานของไมค์นั้นเหมาะกับการใช้อัดทั้งเสียงร้อง และเสียงดนตรี แต่ที่น่าสนใจสุด ๆ คือ Pattern การรับเสียงของมันเหมาะกับการทำ ASMR กว่าไมค์ USB Condenser ตัวอื่น ๆ แบบออกนอกหน้าเลยทีเดียว ส่วนภายในยังมาพร้อมกับอุปกรณ์เสริมการใช้งานแบบ Built-In เทียบเท่า HyperX Quadcast และ Software การผลิตเสียงอย่าง Ableton Live 10 Lite มาให้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมาก ๆ สำหรับไมค์ USB Condenser ตัวทอป ๆ ในตลาดปัจจุบันนั่นเอง
The Center of Your Creative Universe
การเชื่อมต่อ
- USB
- AUX (OUT)
อุปกรณ์ภายในกล่อง
- 1 x ไมโครโฟน AKG Lyra
- 1 x สายเชื่อมต่อ USB-C to USB-A
- 1 x Shock Mount (รองรับทั้ง 3/8” และ 5/8”)
- 1 x Activation Key สำหรับ Alberton 10 Lite
- 1 x เอกสารประกอบการใช้งาน
ดีไซน์ใช้งานง่าย พร้อม Plug 'n' Play
สำหรับไมค์ AKG Lyra นั้นใช้การออกแบบที่ค่อนข้างวินเทจคลาสสิคให้อารมณ์ไมค์ในยุค 90 ที่มีทรงเหลี่ยมและขนาดค่อนข้างหนา มาพร้อมกับ น้ำหนักที่จับแล้วเต็มไม้เต็มมือที่ 970 กรัมรวมขาตั้งและสายเชื่อมต่อแล้ว โดยการควบคุมบนตัวไมค์จะมีทั้งหมด 4 ส่วน แบ่งออกเป็นฝั่งด้านที่ ประกอบไปด้วย Knob 1 ตัว สำหรับปรับ Headphone Volume และ ปุ่มสำหรับ Mute ไมโครโฟน ส่วน หลังไมโครโฟนประกอบไปด้วย Knob 2 ตัวสำหรับปรับโหมดการรับเสียง และ Gain ของตัวหูฟัง ส่วนด้านใต้ของหูฟัง ก็จะประกอบไปด้วย ช่องสำหรับเชื่อมต่อหัว AUX 3.5 สำหรับมอนิเตอร์เสียงด้วยหูฟัง และช่อง USB-C ที่ไว้ต่อสายเชื่อมต่อหลักนั่นเอง และยิ่งไปกว่านั้นคือ ภายในตัว AKG Lyra ตัวนี้ มี Shock Mount และ Sound Diffuser มาให้แบบ Built-in หรือพูดง่าย ๆ ในส่วนของอุปกรณ์เสริมที่ Built-in มาให้ก็เทียบเท่ากับ HyperX Quadcast นั่นเอง เรียกได้ว่าแค่เชื่อมต่อก็พร้อมใช้งานได้เลยในทันที
4 รูปแบบการรับเสียงที่พิเศษไม่เหมือนใคร
แม้จะเปรยมาว่า AKG Lyra สามารถรับเสียงได้ถึง 4 รูปแบบแต่ก็ต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่า ตัวของมันนั้นมีฟังก์ชั่นการเก็บเสียงที่แตกต่างจากไมค์ 4 Pattern ตัวอื่น ๆ เล็กน้อย ซึ่งความแตกต่างนี้ต้องบอกว่าเป็นข้อดีที่น่าสนใจ และทำให้มันเหมาะกับการทำงานที่หลากหลายมากกว่าไมค์ 4 Pattern อย่าง Blue Yeti หรือ HyperX Quadcast โดยรูปแบบการรับเสียงทั้งหมดของ AKG Lyra ก็จะมีดังนี้
Front Mode (Cardioid)
รูปแบบการรับเสียงทิศทางเดียว โดยการใช้งาน ไดอะแฟรมรับเสียงดานหน้าเพียง 1 ตัวเท่านั้น เหมาะกับการใช้บันทึกเสียงพูด เสียงร้อง แบบแยกไลน์ และใช้จัดรายการต่าง ๆ เพราะจัดการกับเสียงรบกวนได้เป็นอย่างดี
Tight Stereo
รูปแบบการรับเสียงแบบแยก Track สเตริโอซ้าย-ขวา เพื่อความสะดวกในการ Edit เสียง เหมาะสำหรับการทำ ASMR บันทึกเสียงร้องเสียงดนตรีโดยเฉพาะเมื่อเล่นกัน 2 – 3 คน โดยประมาณ
Front & Back Mode (Omnidirectional)
รูปแบบการรับเสียงแบบโดยรอบ โดยใช้งานไดอะแฟรมรับเสียงทั้ง 4 ตัว แต่จะไม่มรการแยกแชแนลการบันทึกเป็น ซ้าย - ขวา เหมาะกับการอัดรายการหลายคน ไลฟ์ร้องเพลงแบบมีแขกรับเชิญ หรือประชุมสาย
Wide Stereo
รูปแบบรับเสียง Stereo แบบรอบทิศทาง อันเป็นจุดเด่นของเจ้า Lyra ทำให้คุณสามารถขยายสเกลคลิป ASMR ของคุณได้แบบสบาย ๆ หรือจะใช้สำหรับอัดเสียงเป็น Band ก็ทำให้ได้เสียงที่มีมิติมากขึ้นอีกด้วย
AKG Lyra หรือ HyperX Quadcast
ถ้าเกิดวัดกันที่การออกแบบทั้ง AKG และ HyperX นั้นก็ให้การออกแบบที่กรองลม และกันสั่นที่ยอดเยี่ยมมาทั้งคู่ ทำให้ต้องไปวัดกันในเรื่องของรูปแบบการรับเสียง ที่เหมือนว่า AKG จะได้เปรียบจากไดอะแฟรมรับเสียงทั้ง 4 ตัวข้างใน และการบันทึกเสียงในรูปแบบ Wide Stereo ที่ HyperX ทำไม่ได้นั่นเอง ส่วนคุณภาพการบันทึกเสียงนั้น แม้ว่า AKG จะทำได้สูงกว่า แต่ความแตกต่างระหว่างเสียง 16 และ 24 bit นั้นไม่ได้มีความสำคัญมากนักโดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้ทำรายการหรือ Podcast ที่เห็นผลและซีเรียสกันจะเป็นพวกนักดนตรี หรือ Sound Producer กันมากกว่า ฉะนั้นใครที่มีความสามารถในการเล่นดนตรีติดมา เพิ่มเงินอีกไม่กี่บาทคุณก็จะได้ไมค์ที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต และยังได้ Software สำหรับงาน Sound Production มาเพิ่มอีก 1 ตัว ส่วนใครที่เน้นการใช้งานไลฟ์เกมแคสเกมอยู่แล้ว HyperX Quadcast อาจจะประหยัดเงินให้คุณมากกว่านั่นเอง ส่วนแนวเสียงนั้นก็แล้วแต่คนชอบ แต่ก็ต้องยอมรับตามตรงว่า AKG Lyra เก็บรายละเอียดเสียงได้ยอดเยี่ยมกว่า Quadcast นั่นเอง
ตารางเทียบสเปค
ชื่อรุ่น | HyperX Quadcast | AKG Lyra | Blue Yeti Studio |
ความละเอียดสูงสุด | 16-bit 48 kHz | 24-bit 192 kHz | 16-bit 48 kHz |
ตอบสนองความถี่ | 20 – 20 kHz | 20 – 20 kHz | 20 – 20 kHz |
รูปแบบการรับเสียง | Omni, Cardioid, Figure-8, Stereo | Omni, Cardioid, Wide Stereo, Tight Stereo | Omni, Cardioid, Figure-8, Stereo |
การเชื่อมต่อ | USB | USB | USB |
การปรับ Gain | ปรับได้อิสระโดยการหมุนเพิ่มลดค่า Gain | ปรับได้อิสระโดยการหมุนเพิ่มลดค่า Gain | ปรับได้อิสระโดยการหมุนเพิ่มลดค่า Gain |
อื่น ๆ | Built-in Pop filter, Shock Mount | Built-in Pop filter, Shock Mount, Alberton 10 Lite software | PreSonus Sound Software, iZotope Sound Plug-ins |
ราคา | 4,390.- | 6,500.- | 6,590.- |
รีวิวเสียง
ภายในไมโครโฟนครับมาพร้อมกับ ไดอะแฟรมรับเสียงถึง 4 ตัว โดยตัวไมค์จะเป็นแบบ Condenser รับเสียงในช่วง 20 – 20 kHz และมีคุณภาพการบันทึกเสียงอยู่ที่ 24-bit/192kHz โดยแนวเสียงของ AKG Lyra ทางเรามองว่า เขาโดดเด่นในเรื่องของการเก็บรายละเอียดเสียงมาก ๆ ไม่ว่าจะใช้งานกับเครื่องดนตรี หรือร้องเพลงตัวไมโครโฟนจะจับรายละเอียดเสียงได้ดี มีความโปร่ง เนื้อเสียงใส สะอาด เพราะตามกราฟตัวไมค์บูสต์เสียงในย่าน Air และ Treble มาชัดเจนมาก ๆ ครับ สำหรับเบสเองก็ทำมาได้ดี รายละเอียดครบครัน แต่แค่อาจจะไม่ได้โดดเด่นเทียบเท่ากับเสียงกลางและสูงที่เป็นจุดขายนั่นเอง
คอนเดนเซอร์
USB
PC, Laptop
24-bit / 192 kHz
20Hz – 20kHz
Height - 247.5 mm (9.72 in.) Width - 107.90 mm (4.23 in.) Length - 152.50 mm (6 in.)
2.03 lb / 0.92 kg (with Mount)
บทความที่เกี่ยวข้อง